วันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2566

ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง หรือเทศกาลสงกรานต์


 ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง การเริ่มต้นแห่งศักราชใหม่

(ผู้เขียน พนมกร นันติ)
ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง หรือเทศกาลสงกรานต์ คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้นสู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ตามประเพณีของไทยอยู่ในวันที่ ๑๓, ๑๔ และ ๑๕ เมษายน ของทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก สำหรับป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองของชาวล้านนานั้น ไม่ได้มีระยะเวลาเพียงแค่สามวันดังกล่าว หากแต่มีระยะเวลารวมไปถึงเจ็ดวัน กิจกรรมส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลนี้ประกอบด้วย การทำความสะอาดบ้านเรือน ทำบุญ สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำกัน เป็นต้น กิจกรรมที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ตามประเพณีของไทย ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างเทศกาลสงกรานต์และป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง มีลักษณะทั้งความเหมือนและความต่าง กล่าวคือ ป๋าเวณีปีใหม่เมืองของชาวล้านนายังมีพิธีกรรมอีกหลายอย่าง ซึ่งแต่ละท้องถิ่นแต่ละชุมชนยังมีความแตกต่างกันออกไปอีก ตามวิถีที่ได้ส่งผ่านกันมาจากรุ่นก่อนๆ
อย่างไรก็ดี นอกจากกิจกรรมดังกล่าวแล้ว ประเพณีสงกรานต์ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง สำหรับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองนั้น ในแต่ละปีจะมีปฏิทินหรือที่เรียกกันว่าหนังสือปี๋ใหม่เมือง เป็นปฏิทินประกาศสงกรานต์ในแต่ละปี ว่าในปีนั้นๆ เป็นปีนักษัตรอะไร นางสงกรานต์ชื่ออะไร นอกจากนี้ในหนังสือปี๋ใหม่เมืองยังบอกด้วยว่าในปีนั้นๆ มีนาคให้น้ำกี่ตัว การพยากรณ์เกณฑ์การให้น้ำมากน้อย การเพาะปลูกจะดีหรือไม่ ข้าวของต่างๆ จะถูกหรือแพง การทำนายเกณฑ์ชะตาชีวิตถึงคนเกิดวันต่างๆ ว่าคนเกิดวันใดมีเคราะห์ วันใดมีโชคดี รวมทั้งบอกวันดีต่างๆ ไว้ ว่าวันไหนเป็นวันอธิบดี วันธงชัย และวันโลกาวินาศ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งเป็นการทำนายตามหลักโหราศาสตร์โบราณล้านนา ในปฏิทินดังกล่าวยังได้กล่าวถึงว่าในปีนั้นๆ ดอกไม้ ต้นไม้ และสัตว์ชนิดไหนเป็นใหญ่ในหมู่ดอกไม้ ต้นไม้ และสัตว์ทั้งหลาย บางฉบับหรือบางตำราได้คำนวณยามอุบากอง หรือวันเก้ากอง ซึ่งเป็นโหราศาสตร์เกี่ยวกับวัน เวลา ในการประกอบพิธีมงคล และฤกษ์ในการเดินทางไว้ให้ด้วย
ตามประเพณีไทยถือเอาวันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ คำว่าสงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หมายถึงการที่ดวงอาทิตย์ ขึ้นสู่ราศีใหม่ อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกเดือน ที่เรียกว่าสงกรานต์เดือน แต่เมื่อครบ ๑๒ เดือนแล้วย่างขึ้นราศีเมษอีกครั้ง จัดเป็นสงกรานต์ปี ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ ในทางโหราศาสตร์ มหาสงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้นหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ หมายถึงสงกรานต์ปี คือปีใหม่ ก่อนที่เราจะถือวันสงกรานต์เป็นปีใหม่แบบไทยนั้น สมัยโบราณเราถือเอาวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะถือว่าฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ซึ่งจะตกราวเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการสังเกตธรรมชาติและฤดูการผลิตทางการเกษตร เป็นวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ หรือประมาณเดือนเมษายน ครั้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ ๑ เมษายน ปกติวันสงกรานต์จะมี ๓ วัน คือ เริ่มวันที่ ๑๓ เมษายน ถึงวันที่ ๑๕ เมษายน วันแรกคือวันที่ ๑๓ เป็นวันมหาสงกราต์ วันที่พระอาทิตย์ต้องขึ้นสู่ราศีเมษ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา (พระอาทิตย์คงอยู่ที่ ๐ องศา) วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศกใหม่ และเริ่มจุลศักราชในวันนี้ เมื่อก่อนจริงๆ มีถึง ๔ วัน คือวันที่ ๑๓ -๑๖ เป็นวันเนาเสีย ๒ วัน วันเนาเป็นวันที่ไม่มีกิจกรรมใดๆ เป็นวันที่เว้นว่าง พักการงานต่างๆ เป็นการชั่วคราว จะเห็นได้ว่า วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ประกาศให้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับหลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ ประชาชนก็ยังยึดถือว่าวันสงกรานต์มีความสำคัญ เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ไทย ซึ่งแต่เดิมแม้จะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน ก็ไม่ได้ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน ดังเช่นปัจจุบัน จนเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๔ เป็นต้นมา ได้กำหนดให้เป็นวันที่ ๑๓ เมษายน ตามปฏิทินเกรกอรี่ นอกจากประเทศไทยแล้วยังมีชาวมอญ พม่า ลาว เขมร และชนชาติไทยเชื้อสายต่างๆ อันเป็นชนส่วนน้อยในจีน และอินเดีย ก็ถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ด้วยเช่นกัน
วันสงกรานต์เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ซึ่งกษัตริย์สิงหศแห่งพม่า ทรงตั้งขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ ปีกุน พ.ศ. ๑๑๘๑ โดยกำหนดเอาดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษได้ ๑ องศา กอปรกับไทยเราเคยนิยมใช้จุลศักราชมาแต่เดิม สงกรานต์จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยอีกด้วย ในปีแรกที่กำหนดเผอิญเป็นวันที่ ๑๓ เมษายน ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่วันที่ ๑๓ เมษายนทุกปี แต่เมื่อเป็นประเพณี ก็จำเป็นต้องเอาวันนั้นทุกปี เพื่อมิให้การประกอบพิธี ซึ่งมิได้รู้โดยละเอียดต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา วันที่ ๑๓ จึงเป็นวันสงกรานต์ของทุกปี
วันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่าวันเนา และรัฐบาลสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณได้ประกาศให้เป็นวันครอบครัวด้วย วันเนา แปลว่า วันอยู่ คำว่า “เนา” แปลว่า “อยู่” หมายความว่าเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์มา ๑ วัน วันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย่างสู่ราศีตั้งต้นปีใหม่ วันเนาเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าที่เข้าทาง ในวันราศีตั้งต้นใหม่เรียบร้อยแล้ว คืออยู่ประจำที่แล้วส่วนวันที่ ๑๕ เมษายน เรียก วันเถลิงศก แปลว่า วันขึ้นศก เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เปลี่ยนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ ๓ ถัดจากวันมหาสงกรานต์ ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่า การย่างขึ้นสู่จุดเดิมสำหรับต้นปีนั้นเรียบร้อยดี ไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่จะเปลี่ยนศกถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็น วันที่ ๓ ก็หมายความว่า อย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวเข้าสู่ราศีใหม่ ไม่น้อยกว่า ๑ องศาแล้ว
ความแตกต่างระหว่างประเพณีไทยภาคกลาง และป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองของชาวล้านนา มีความเหมือนและต่างกัน กล่าวคือทางล้านนาเรียกวันที่ ๑๓ เมษายนว่า วันสังขารล่อง ชาวล้านนาถือเอาวันนี้เป็นวันที่สังขารเก่าล่วงไป หมายความว่าเป็นวันที่อายุสิ้นไปอีกปีหนึ่ง และเริ่มต้นอายุของปีใหม่ วันที่ ๑๔ เมษายน เรียกวันเน่า เป็นวันห้ามพูดจาหยาบคาย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ปากเน่าและไม่มีความเจริญ ส่วนวันที่ ๑๕ เมษายน เรียกวันพญาวัน คือวันเปลี่ยนศกใหม่ ซึ่งผู้เขียนจะได้อธิบายประเพณีและพิธีกรรมของชาวล้านนาในแต่ละวันนั้นในลำดับถัดไป
เรื่องเล่าเกี่ยวกับวันสงกรานต์และนางสงกรานต์ เป็นตำนานที่รัชกาลที่ ๓ โปรดให้จารึกไว้ในแผ่นศิลา ๗ แผ่น ติดไว้ที่ศาลารอบพระมณฑปทิศเหนือ ภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังครารามฯ หรือวัดโพธิ์ โดยจารึกไว้ว่านางสงกรานต์เป็นนางฟ้าบนสรวงสวรรค์ มีด้วยกัน ๗ องค์ ซึ่งล้วนเป็นพี่น้องกัน และต่างก็เป็นบาทบริจาริกา หรือเรียกง่ายๆ ว่า เป็นสนมนางในของพระอินทร์ นางสงกรานต์เป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม หรือท้าวมหาสงกรานต์ และเป็นนางฟ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นต่ำสุด (สวรรค์ชั้นที่ ๑ ในทั้งหมด ๖ ชั้น) ซึ่งมีหน้าที่ในการรับศีรษะของท้าวกบิลพรหมแห่รอบเขาพระสุเมรุในแต่ละรอบปี หรือในวันสงกรานต์นั้นเอง โดยมีเกณฑ์กำหนดที่ว่าวันสงกรานต์ คือวันที่ ๑๓ เมษายน ตรงกับวันใดก็ให้นางสงกรานต์ประจำวันนั้นเป็นผู้แห่ นางสงกรานต์มีทั้งหมด ๗ องค์ ได้แก่
๑. นางสงกรานต์ทุงษเทวี ทุงษเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์ ทัดดอกทับทิม มีปัทมราค (แก้วทับทิม) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ อุทุมพร (มะเดื่อ) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือสังข์ เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์ครุฑ
๒. นางสงกรานต์โคราดเทวี โคราดเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันจันทร์ ทัดดอกปีป มีมุกดาหาร (ไข่มุก) เป็นเครื่องประดับภักษาหาร คือ เตละ (น้ำมัน) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า เสด็จประทับเหนือพยัคฆ์ (เสือ)
๓. นางสงกรานต์รากษสเทวี รากษสเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอังคาร ทัดดอกบัวหลวง มีโมรา (หิน) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ โลหิต (เลือด) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายถือธนู เสด็จประทับเหนือวราหะ (หมู)
๔. นางสงกรานต์มัณฑาเทวี มัณฑาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพุธ ทัดดอกจำปา มีไพฑูรย์ (พลอยสีเหลืองแกมเขียว) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือนมและเนย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์คัสพะ (ลา)
๕. นางสงกรานต์กิริณีเทวี กิริณีเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี ทัดดอกมณฑา (ยี่หุบ) มีมรกตเป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ ถั่วและงา อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือปืน เสด็จไสยาสน์เหนือปฏษฎางค์ชสาร (ช้าง)
๖. นางสงกรานต์กิมิทาเทวี กิมิทาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันศุกร์ ทัดดอกจงกลนี มีบุษราคัมเป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ กล้วยและน้ำ อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือพิณ เสด็จประทับยืนเหนือมหิงสา (ควาย)
๗. นางสงกรานต์มโหทรเทวี มโหทรเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ ทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) มีนิลรัตน์เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ เนื้อทราย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือตรีศูล เสด็จประทับเหนือมยุราปักษา (นกยูง)
สัตว์ที่เป็นพาหนะทรงจะมิใช่ปีนักษัตรของปีนั้นๆ ตามที่หลายคนเข้าใจผิด
ตำนานวันสงกรานต์ ซึ่งปรากฏอยู่ในพระธรรมใบลานของชาวล้านนา ที่พระสงฆ์นำมาเทศในวันพญาวันนั้น ได้กล่าวถึงตำนานวันสงกรานต์หรือปี๋ใหม่เมืองไว้ว่า มีท่านเศรษฐีผู้หนึ่งไม่มีบุตรแต่ต้องการบุตรมาก ด้วยถูกนักเลงสุราที่บ้านใกล้กันนั้นกล่าวคำหยาบช้าต่อเศรษฐี ท่านเศรษฐีจึงกล่าวถามว่า “เหตุใดท่านจึงกล่าวดูถูกเราผู้มีสมบัติมาก” นักเลงสุราตอบกลับว่า “ถึงแม้ท่านเป็นผู้มีสมบัติมาก แต่ท่านก็ไม่มีบุตร เมื่อเสียชีวิตแล้ว สมบัติเหล่านี้ก็สูญเปล่า เรานั้นมีบุตร ย่อมประเสริฐกว่า” ท่านเศรษฐีจึงได้จัดพิธีบวงสรวงขอบุตรจากพระอาทิตย์ และพระจันทร์ รอนานสามปีก็มิได้เกิดบุตร เมื่ออาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ท่านเศรษฐีจึงพาบริวารไปบวงสรวงขอบุตรจากพระไทร พระไทรมีความเมตตาสงสารเศรษฐีผู้นี้ จึงได้ขึ้นไปบนสวรรค์ทูลขอบุตรจากพระอินทร์ให้แก่เศรษฐีฃผู้นั้น พระอินทร์จึงให้ธรรมบาลกุมารเทวบุตรลงมาเกิดเป็นบุตรของท่านเศรษฐี เมื่อภรรยาของท่านเศรษฐีคลอดบุตร ท่านเศรษฐีได้ปลูกปราสาทเจ็ดชั้นให้อยู่ใต้ต้นไทรริมฝั่งแม่น้ำ และตั้งชื่อให้ว่าธรรมบาลกุมารธรรมบาลกุมารนี้เป็น เด็กที่มีปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างมาก เรียนรู้ไตรเทพจบเมื่ออายุ ๗ ขวบอีกทั้งยังสามารถเรียนรู้ภาษานกได้อีก ความดังกล่าวได้ล่วงรู้ถึงท้าวกบิลพรหม ท่านจึงต้องการที่จะทดสอบปัญญาของธรรมบาลกุมาร ท้าวกบิลพรหมจึงได้เสด็จลงมายังโลกมนุษย์ ถามปัญหาธรรมบาลกุมาร ๓ ข้อคือ
ข้อที่ ๑ เช้าราศีสถิตอยู่แห่งใด
ข้อที่ ๒ เที่ยงราศีสถิตอยู่แห่งใด
ข้อที่ ๓ ค่ำราศีสถิตอยู่แห่งใด
จากนั้นได้ตกลงกันว่า ถ้าธรรมกุมารสามารถตอบปัญหา ๓ ข้อนี้ได้ ภายใน ๗ วัน จะตัดเศียรของตนบูชาธรรมบาลกุมาร แต่ถ้าธรรมบาลกุมารไม่สามารถตอบปัญหาได้ ธรรมบาลกุมารต้องตัดศีรษะของตนบูชาท้าวกบิลพรหมเช่นกัน ธรรมบาลกุมารเมื่อได้ยินดังนั้น ก็ได้จดจำคำตอบและนำไปบอกแก่ท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงจำต้องตัดเศียรของตนบูชาธรรมบาลกุมาร แต่เศียรของท้าวกบิลพรหมมีฤทธิ์มาก คือ ถ้าตัดแล้วตั้งไว้บนแผ่นดิน แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ ถ้าโยนขึ้นสู่ท้องฟ้าฝนก็จะตกไม่ถูกต้องตามฤดูกาล และถ้าทิ้งลงมหาสมุทรน้ำก็จะเหือดแห้ง ท้าวกบิลพรหมจึงรับสั่งเรียกธิดาทั้ง ๗ เพื่อให้นำเศียรของท้าวกบิลพรหมไปแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ ๖๐ นาที แล้วจึงนำไปเก็บไว้ในมณฑปถ้ำธุลีเขาไกรลาศ ครั้นครบกำหนด ๓๖๕ วัน (โลกสมมุติว่าเป็น ๑ปี) เป็นสงกรานต์ ซึ่งหมายถึงขึ้นปีใหม่นั้นเอง นางสงกรานต์ก็จะต้องนำเศียรของท้าวกบิลพรหมแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุเป็นประจำทุกปี
การก่อเจดีย์ทราย เป็นกิจกรรมหนึ่งในช่วงป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง
ข้อแตกต่างระหว่างป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองของชาวล้านนา กับเทศกาลสงกรานต์แบบไทยนั้น เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๓ เมษายน ซึ่งถือเป็นวันแรกของเทศกาล โดยประเพณีไทยถือว่าวันนี้เป็นวันมหาสงกรานต์ ในวันดังกล่าวผู้คนจะออกไปทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว สำหรับชาวล้านนาแล้ววันนี้ถือเป็นวันสังขารล่อง เป็นวันที่ถือว่าอายุหรือสังขารเดิมล่องไป หรือล่วงพ้นไปแล้วและกำลังจะเริ่มสังขารหรืออายุใหม่
ในวัยเด็กย่าผู้เขียนจะให้กวาดใบไม้ใบหญ้ากองสุมรวมกันไว้ ตั้งแต่เย็นวันที่ ๑๒ เมษายน และบิดาของผู้เขียนมักเล่าให้ผู้เขียนฟังว่าในวันสังขารล่องนั้น ในเวลาเช้ามืดของวันสังขารล่อง ปู่ขาร กับย่าขาร จะมาหอบเอาเศษใบไม้ใบหญ้านี้ไปหมด ซึ่งจะมาปีละครั้งเท่านั้น ถ้าอยากเห็นปู่ขาร-ย่าขาร ต้องช่วยกันถางหญ้ากวาดใบไม้ขยะกองสุมกันไว้ และต้องตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อมาดูปู่ขาร-ย่าขาร ถ้าตื่นสายก็จะไม่ทันได้เห็น ถือเป็นกลอุบายของคนในสมัยก่อนที่ให้เด็กๆ ช่วยกันทำงานปัดกวาดบ้านเรือนในวันปีใหม่ พอรุ่งเช้าของวันสังขารล่อง แต่ละบ้านก็จะมาเผากองขยะเหล่านั้น ถือเป็นการเผาเอาเสนียดจัญไร และเคราะห์ต่างๆ ให้มอดไหม้ไปพร้อมกับปีเก่า จากนั้นก็จะสระเกล้าดำหัว คำว่าสระเกล้าดำหัวในที่นี้หมายถึง การอาบน้ำสระผมด้วยน้ำขมิ้นส้มป่อย ไม่ใช่การรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้หลักผู้ใหญ่ตามประเพณีไทยที่นิยมกันในปัจจุบัน ในขณะที่อาบน้ำนั้นชาวล้านนาจะเอาน้ำขมิ้นส้มป่อยล้างหน้าและบริเวณที่เสนียดจัญไรอยู่ ซึ่งในแต่ละปีก็จะอยู่ตามตำแหน่งต่างๆ ของร่างกายที่ต่างกันออกไป การดูว่าเสนียดจัญไรอยู่ ณ ตำแหน่งใดของร่างกายนั้น จะปรากฏอยู่ในหนังสือปี๋ใหม่เมือง ซึ่งนอกจากจะบอกว่าเสนียดจัญไรอยู่ตำแหน่งใดแล้ว ยังบอกด้วยว่าในปีนั้นดอกไม้ชนิดใดเป็นใหญ่ตามที่ได้กล่าวไปแล้วในเบื้องต้น ขณะที่อาบน้ำขมิ้นส้มป่อยนั้นจะกล่าวด้วยว่า ให้เสนียดจัญไรและเคราะห์ทั้งหลายให้ล่วงไปกับปีใหม่ ขอให้อยู่เย็นเป็นสุขเป็นต้น การอาบน้ำสระผมนี้มีเคล็ดในการหว่ายหน้า หรือผินหน้าไปตามทิศที่ดีตามปีนั้นๆ โดยดูจากวันที่สังขารนั้นว่าล่องไปในวันใด ตามโบราณล้านนามีการคำนวณไว้ดังนี้
สังขารล่องวันอาทิตย์ ดำหัวหว่ายหน้าไปทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
สังขารล่องวันจันทร์ ดำหัวหว่ายหน้าไปทิศตะวันตก
สังขารล่องวันอังคาร ดำหัวหว่ายหน้าไปทิศใต้
สังขารล่องวันพุธ ดำหัวหว่ายหน้าไปทิศใต้
สังขารล่องพฤหัสบดี ดำหัวหว่ายหน้าไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
สังขารล่องวันศุกร์ ดำหัวหว่ายหน้าไปทิศตะวันออก
สังขารล่องวันเสาร์ ดำหัวหว่ายหน้าไปทิศตะวันตกเฉียงใต้
หลังจากที่สระเกล้าดำหัวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชาวล้านนามักจะนุ่งผ้าใหม่ในวันนี้ ส่วนผู้หญิงมักนำเอาดอกไม้ที่เป็นมงคลนาม หรือพญาดอก หรือดอกที่เป็นใหญ่แก่ดอกไม้ทั้งหลายในปีนั้นมาเหน็บไว้ที่มวยผม เพื่อให้เกิดความโชคดีด้วย โดยจะมีการคำนวณไว้ในหนังสือปีใหม่แต่ละปี โดยเอาตัวเลขจุลศักราชปีใหม่ตั้ง หารด้วย ๘ ได้เศษเท่าไหร่ ทำนายตามนี้
เศษ ๑ ดอกเอื้อง
เศษ ๒ ดอกแก้ว
เศษ ๓ ดอกซ้อน (มะลิ)
เศษ ๔ ดอกประดู่
เศษ ๕ ดอกบัว
เศษ ๖ ดอกส้มสุก (อโศกน้ำ)
เศษ ๗ ดอกบุญนาค
เศษ ๘ ดอกก๋าสะลอง (ดอกปีบ)
เศษ ๐ ดอกเก็ดถะหวา(ดอกพุดซ้อน)
ตัวอย่างเช่น ใน พ.ศ.๒๕๕๒ ลบด้วย ๑๑๘๒ คือจุลศักราศ ๑๓๗๐ หาร ด้วย ๘ ได้เศษ .๘๗๕ ปัดขึ้นเป็นเศษ ๘ ดอกไม้นามปี ได้แก่ ดอกก๋าสะลองเป็นต้น
หลังจากที่เสร็จสิ้นภารกิจดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ในวันนี้สมาชิกในครอบครัวจะช่วยกันทำความสะอาดขัดล้างบ้าน เปลี่ยนผ้าปูที่นอน หมอน มุ้งใหม่ ในสมัยก่อนนั้นบ้านเรือนของชาวล้านนาส่วนใหญ่เป็นบ้านที่ปลูกสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง การขัดล้างบ้านก็เป็นการขัดล้างจริงๆ ไม่ได้ปัดกวาดเช็ดถูเช่นปัจจุบัน ในยามที่ผู้เขียนยังเล็ก บิดาผู้เขียนจะตักน้ำใส่ถังไว้กลางเรือน ทุกคนในบ้านช่วยกันเก็บของขึ้นที่สูง แล้วช่วยกันขัดไม้กระดานที่ปูเรือนให้สะอาด มูลเหตุนี้ผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นกุศโลบายของคนโบราณ เนื่องจากช่วงสงกรานต์หรือปี๋ใหม่เมือง เป็นช่วงกลางเดือนเมษายน เป็นฤดูที่มีอากาศร้อนมาก การที่คนสมัยนั้นได้ขัดล้างบ้านเรือนทำให้ช่วยลดอุณหภูมิความร้อนลงไปได้มาก เนื่องจากน้ำที่ขัดล้างบ้านเรือนจะตกไปใต้ถุนเรือน และผืนดินจะอุ้มความชื้นไว้ทำให้อากาศเย็นสบาย ช่วยลดอุณหภูมิความร้อนในเดือนเมษายนลง ส่งผลให้สมาชิกในครอบครัวได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมากขึ้นในวันปี๋ใหม่เมือง อีกทั้งยังเป็นกลอุบายที่สร้างความรักความสามัคคีของสมาชิกในครอบครัว ให้รักใคร่กลมเกลียวกันมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันในวันสังขารล่องนี้ในหลายพื้นที่ได้จัดกิจกรรมขึ้นหลายกิจกรรม อาทิในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการอันเชิญพระพุทธสิหิงค์ขึ้นประดิษฐานบนบุษบก แห่ไปรอบเมืองเชียงใหม่เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำเพื่อความร่มเย็นเป็นสุข เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนจังหวัดเชียงรายได้มีกิจกรรมแห่พระเจ้าแวดเวียง เพื่อให้ผู้คนได้สักการะและสรงน้ำด้วยเช่นกัน
ความเชื่อเกี่ยวกับวันสังขารล่องของชาวล้านนา ตามที่ได้บันทึกไว้โดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สังขารล่องในแต่ละปี มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต เห็นได้จากมีการทำนายเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นในบ้านเมือง ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่มที่ ๑๓ กล่าวถึงความเชื่อบางประการเกี่ยวกับวันสังขารล่อง ดังนี้
สังขารล่องวันอาทิตย์ ชื่อว่า ทวารสสังกรานต์ ปีนั้นข้าวจักแพงมากนัก คนทั้งหลายจักเป็นพยาธิ ไข้เจ็บหัวปวดท้อง สังกรานต์ขี่นาคขี่รถไปยามอังคาร มือหนึ่งถือแก้ว มือหนึ่งถือผาลา จากหนอีสานไปสู่หนปัจจิม นางสงกรานต์ผู้มารับยืนไปมีชื่อ นางแพงศรี (ทุงษะเทวี) ปีนั้นข้าวจักแพงมากนัก คนทั้งหลายจักเป็นพยาธิ ไข้เจ็บหัวปวดท้อง ข้าศึกจักเกิดมีกับบ้านเมือง แมงบ้ง(หนอนแมลง) จักลงกินพืชไร่ข้าวนามากนัก ฝนตกบ่ทั่วเมือง จักแพ้สัตว์สองตีน สี่ตีนจักตายด้วยห่าด้วยพยาธิ คนทั้งหลายมักเป็นตุ่มเป็นฝีแผล จักแพ้ผู้ใหญ่ คนมั่งมีเศรษฐีจักฉิบหาย หมากเกลือจักแพง ไม้ยางเป็นใหญ่แก่ไม้ทั้งหลาย ขวัญข้าวอยู่ไม้ไผ่ สัตว์สี่ตีนจักแพง ผู้เกิดวันพุธจักมีเคราะห์ ผู้เกิดวันเสาร์จักมีโชคลาภ
สังขารล่องวันจันทร์ ชื่อว่า ปโรโทสังกรานต์ขี่ครุฑ บางแห่งว่าขี่ม้าไปจากหนวันตกเฉียงใต้ไปยามพุธ มือซ้ายพาดตักมือขวาถือตุลย์คือคันชั่ง นางอันเป็นธิดาพระพรหมผู้มารับนั่งยองๆ รับเอา ชื่อว่านางมโนรา (โคราคเทวี) ปีนั้นงูจักเกิดมีมากนัก คนทั้งหลายจักเกิดเป็นพยาธิมากนัก ฝนหัวปีดีหางปีบ่พอดี ข้าวกล้าลางที่ดี ลางที่ก็บ่ดี ไม้กุ่มเป็นพญาแก่ไม้ทั้งหลาย ขวัญข้าวอยู่ไม้เดื่อเกลี้ยง (ไม้เดื่ออุทุมพร)คนเกิดวันอังคารจักมีเคราะห์ คนเกิดวันพุธจักมีโชค ของเขียวของเหลืองจักแพง ของลายจักถูก
สังขารล่องวันอังคาร ชื่อว่า โฆรัสสสังกรานต์ นั่งบนตักผียักษ์ ไปจากหนเหนือไปหนตะวันออกเฉียงใต้ ไปยามพฤหัสบดี มือซ้ายเท้ามือขวาถือหลาวเหล็ก บางแห่งว่าถือดาบสรีกัญไชย แลนางธิดาผู้มารับเอานั้นชื่อว่า รากษสเทวี นอนคว่ำรับเอาแล ฝนหัวปีดีกลางปีไม่ดี ปลายปีดีมาก ข้าวไร่ข้าวนาจักเสีย ลูกไม้บ่มีหน่วยหลาย ของขาวจักถูกของแดงจักแพงจักแพ้ผู้หญิงมีครรภ์ บ้านเมืองจักเกิดกลียุค แมลงมีปีกจักทำร้ายพืชผักข้าวกล้ามากนัก ไม้พิมานเป็นไม้ใหญ่แก่ไม้ทั้งหลายขวัญข้าวอยู่ไม้อ้อยช้าง (ไม้อยู่ในป่าคล้ายต้นละหุ่ง) ผู้เกิดวันอาทิตย์จักมีเคราะห์ ผู้เกิดวันพฤหัสบดีจักมีโชค
สังขารล่องวันพุธ ชื่อว่า มัญจาคีรี สังกรานต์ไปยามศุกร์ จากหนวันออกไปหนใต้ เท้าสวมเกือก (ใส่รองเท้า) หมวกสวมหัว มือซ้ายถือผาลา มือขวาถือดาบ ธิดาผู้มารับเอาเศียรพระพรหมชื่อ มันทะ นั่งคุกเข่ารับเอาแล ฝนตกบ่ทั่วเมืองหัวปีมีมากกลางปีมีน้อย ข้าวในนาจักได้ครึ่งเสียครึ่ง ของบริโภคจักแพง ปีนั้นจะแพ้สมณพราหมณ์ ขุนบ้านขุนเมืองจักตกต่ำ ไม้สะเลียม (สะเดา) เป็นไม้ใหญ่แก่ไม้ทั้งหลาย ขวัญข้าวพึ่งไม้คราม ปีนั้นสัตว์ ๔ ตีนจักแพง ของเขียว ของดำ ของขาว ของเหลืองจักแพง ของแดงจักถูก คนเกิดวันศุกร์จักมีเคราะห์ คนเกิดวันจันทร์ วันเสาร์จักมีโชค แลนางเทพธิดาที่มารับเศียร โหราศาสตร์ไทยชื่อว่า มณฑา
สังขารล่องวันพฤหัสบดี ชื่อว่าสมันต สังกรานต์ พิงตะแคงเหนือปราสาทซึ่งตั้งอยู่บนหลังม้า ไปยามพฤหัสบดีมือซ้ายถือดาบ มือขวาเท้าคางไป บางตำรามือขวาถือแก้ววิฑูรย์จากหนวันตกไปหนวันออก ธิดาผู้มารับชื่อ นางกัญญาเทพนั่งคุกเข่ารับเอาแล ฝนปีนั้นตกเสมอต้นเสมอปลายชอบตามฤดูกาล ผู้เป็นเจ้าใหญ่จักมีอันตราย ช้างม้าวัวควายจักตายมากนัก ไพร่ราษฎรจักอยู่ดีมีสุข ขุนใหญ่ ปุโรหิตะ พระสงฆ์จักเป็นทุกข์ คนค้ากินเที่ยวจักมีเคราะห์ ไม้สักเป็นไม้ใหญ่แก่ไม้ทั้งหลาย ขวัญข้าวอยู่ไม้ทองกวาว คนเกิดวันศุกร์จักมีเคราะห์ คนเกิดวันอาทิตย์จักมีโชค ของขาวของแดงจักแพง ของเหลืองจักถูก นางธิดากบิลพรหมผู้มารับเศียรในโหราศาสตร์ไทยชื่อว่า กิรินีเทวี
สังขารล่องวันศุกร์ ชื่อว่า มโตสังกรานต์ ขี่วัวไปยามอาทิตย์ มือซ้ายเท้าแขน มือขวาพาดอุ้มท้อง บางตำราว่ามือซ้ายถือขวาน มือขวาทูนก้อนหิน ลุกจากหนวันออกเฉียงใต้ไปหนวันตกแจ่งเหนือแล นางผู้รับชื่อ ริญโท นั้งยองๆ รับเอาฝนตกหัวปีดีกลางปีบ่มีหลาย เพลี้ย บุ้งจักกัดกินทำร้ายข้าวนา พืชไร่ อันตรายจักเกิดมีแก่สมณพราหมณ์ ปีนี้ผู้หญิงจักมีเคราะห์ ไม้สะเดาเป็นพระยาไม้ ขวัญข้าวอยู่ไม้พุทรา คนผู้เกิดวันพฤหัสบดีจักมีโชค ผู้เกิดวันพุธจักมีเคราะห์ สัตว์น้ำจักแพง พืชผักจักถูก เทพธิดาผู้มารับตามโหราศาสตร์ไทย ชื่อว่า กิมิทาเทวี บางตำราว่า นางสิตา
สังขารล่องวันเสาร์ ชื่อว่า มรณสังกรานต์ ขี่ปราสาทลมไปลุกวันออกไปแจ่งใต้ไปหนเหนือยามจันทร์ มือซ้ายถือคบเพลิง มือขวาถือไม้เท้า เทพธิดาของกบิลพรหมผู้มารับเศียรชื่อว่า สามาเทวี นั่งยองๆ รับเอาแล ปีนั้นฝนแล้ง แมลงต่างๆ จะทำร้ายพืชไร่มากนัก ไฟจังไหม้บ้านเมือง เกิดอัคคีภัยใหญ่ ปีนั้นจักแพ้ผู้ใหญ่ ข้าวยากหมากแพง ผู้เกิดวันจันทร์จักมีเคราะห์ ผู้เกิดวันศุกร์จักมีโชค นางเทพธิดาที่มารับเอาบางแห่งว่า นางโพธา ในโหราศาสตร์ว่า นางมโหธรเทวี
สังขารล่องวันอาทิตย์ (พญาสังกรานต์ ขุนสังกรานต์) ขี่นาค มือซ้ายถือค้อนเหล็ก มือขวาถือปืน มุ่งหน้าจากตะวันออกไปสู่ตะวันตก มีนางสิริเป็นผู้รับ ปีนั้นฝนจะตกดีต้นปี ปลายปีฝนจะแล้ง ไม้ยางขาวจะเป็นใหญ่กว่าไม้ทั้งหลาย ลาจะเป็นใหญ่ นกยูงเป็นใหญ่ คนเกิดวันอังคารจะมีเคราะห์ คนเกิดวันศุกร์จะมีโชคลาภ ของเหลืองของขาวจะแพง ของแดงจะถูก ปีนี้ดำหัว(สระผมในวันสังกรานต์ล่อง)ให้หันหน้าไปทางตะวันตก จะอยู่ดีมีสุข
สังขารล่องวันจันทร์ (พญาสังกรานต์ ขุนสังกรานต์) ขี่ครุฑไปจากทิศอีสานสู่ทิศหรดี มือซ้ายถือหอก มือขวาถือขอช้าง มีนางมโหสถเป็นผู้รบ ปีนี้ฝนจะดี คนจะเป็นไข้กันมาก ขวัญข้าวอยู่ที่ไม้เดื่อ(มะเดื่อ) คนเกิดวันพฤหัสจะมีเคราะห์ คนเกิดวันพุธจะมีโชค ของขาวของแดงจะแพง ของเขียวจะถูก ดำหัวให้หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จะอยู่ดีมีสุข
สังขารล่องวันอังคาร (พญาสังกรานต์ ขุนสังกรานต์)ขี่ยักษ์ จากทิศเหนือไปทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีนางสุนันทารับ ปีนี้ฝนแล้งต้นปีกลางปี ปลายปีฝนจะมีมาก ไม้กระชาวเป็นใหญ่ หญ้าปล้องเป็นใหญ่ ขวัญข้าวอยู่ที่ไม้อ้อ คนเกิดวันอาทิตย์จะมีเคราะห์ คนเกิดวันศุกร์จะมีโชค ดำหัวให้หน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
สังขารล่องวันพุธ (พญาสังกรานต์ ขุนสังกรานต์)ขี่ควาย มือซ้ายถือดาบ มือขวาถือดอกไม้ขาว ออกจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก มีนางสิรินันทารับ ปีนี้ฝนดีปานกลาง สัตว์สี่เท้าจะแพง ของดำแดงจะถูก ขวัญข้าวอยู่ที่ไม้ป่านเถื่อน(ต้นดอกรัก) คนเกิดวันอาทิตย์จะมีเคราะห์ คนเกิดวันจันทร์จะมีโชค ดำหัวหน้าไปทางทิศเหนือ
สังขารล่องวันพฤหัส (พญาสังกรานต์ ขุนสังกรานต์) ขี่ม้า มือซ้ายถือน้ำเต้า มือขวาถือพัด ออกจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีนางสิริกัญญารับ ปีนี้ฟ้าฝนดี น้ำท่าจะท่วมบ้านเมือง คนเป็นไข้กันมาก สมณชีพราหมณ์จะเดือดร้อน สัตว์มีปีกจะแพง ของดำของเขียวจะถูก ไม้กระชาวเป็นใหญ่ ขวัญข้าวอยู่ที่ไม้พร้าว คนเกิดวันจันทร์จะมีเคราะห์ คนเกิดวันศุกร์จะมีโชค ดำหัวให้หน้าไปทางทิศใต้
สังขารล่องวันศุกร์ (พญาสังกรานต์ ขุนสังกรานต์) ขี่วัว มือซ้ายถือไม้เท้า มือขวาถือค้อนเหล็ก มุ่งหน้าจากทิศตะวันออกสู่ทิศเหนือ มีนางสุชาดารับ ปีนี้ต้นปีแล้ง กลางปีฝนมีมาก มีผลหมากรากไม้ ไม้ยมหินเป็นใหญ่แก่ไม้ทั้งหลาย หญ้าคาเป็นใหญ่แก่หญ้าทั้งหลาย ขวัญข้าวอยู่ที่ต้นพุทรา คนเกิดวันจันทร์มีเคราะห์ คนเกิดวันพุธมีโชค ดำหัวให้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก
สังขารล่องวันเสาร์ (พญาสังกรานต์ ขุนสังกรานต์) ขี่ปราสาท มือซ้ายถือขวาน มือขวาถือค้อนเหล็ก จากทิศอีสานไปทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีนางโพธานั่งยองๆ รับเอา ปีนี้ฟ้าฝนไม่เสมอกัน ไฟจะไหม้บ้านเมือง ไม้สะเดาเป็นใหญ่ สัตว์สี่เท้าสองเท้าจะแพง ของดำเหลืองจะถูก คนเกิดวันอาทิตย์จะมีโชค คนเกิดวันพฤหัสจะมีเคราะห์ ให้บูชาพระธาตุ ปล่อยสัตว์สองเท้า ดำหัวให้หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ประเพณีล้านนา : ประเพณีปี๋ใหม่เมือง เว็ปไชต์และฐานข้อมูลประเพณีล้านนา)
ปัจจุบันบางครอบครัวที่เป็นครอบครัวใหญ่ หรือตระกูลใหญ่ที่มีญาติพี่น้องมาก ก็จะถือเอาวันนี้เป็นวันรวมญาติ เนื่องจากเป็นช่วงที่ลูกหลานที่เดินทางไปทำงานอยู่ต่างถิ่นได้กลับมาอยู่พร้อมหน้ากันอีกครั้ง ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่จะได้ร่วมกันทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับปู่ ย่า ตา ยาย และบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ การทำบุญให้กับบรรพบุรุษและวงศาคณาญาติอาจมีความแตกต่างกันไป บางครอบครัวอาจทำเป็นการภายใน หรืออาจเป็นการรวมญาติพี่น้องทั้งหมดหลายครอบครัวรวมกัน เช่นเดียวกับตระกูลของผู้เขียนที่ทุกปีจะมีการรวมญาติ เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษ อีกนัยหนึ่งเพื่อสร้างความรักความผูกพันให้เกิดขึ้นในหมู่ญาติพี่น้อง เนื่องจากปัจจุบันลูกหลานแต่ละครอบครัวเมื่อเรียนจบแล้ว ต่างแยกย้ายกันไปมีครอบครัวและแยกย้ายกันไปทำงานต่างถิ่นเสียส่วนใหญ่ ทำให้ความใกล้ชิดระหว่างญาติพี่น้องลดน้อยลงไป การจัดงานรวมญาติในช่วงปี๋ใหม่เมืองจึงเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างวงศาคณาญาติให้มีความใกล้ชิดกันให้มากขึ้น
ส่วนวันที่สองของเทศกาลสงกรานต์หรือปี๋ใหม่เมือง ซึ่งวันนี้ชาวล้านนายังไม่ถือว่าเป็นวันปีใหม่ เรียกว่าวันเน่า หรือวันเนา บางแห่งเรียกว่าวันดา ชาวล้านนาจะถือเอาวันนี้จัดเตรียมข้าวปลาอาหาร ขนมนมเนยทั้งหลายเพื่อนำไปทำบุญในวันปี๋ใหม่เมือง จึงเรียกว่าวันแต่งตา ขนมที่นิยมทำกันในช่วงปี๋ใหม่เมืองได้แก่ ขนมจ๊อก(ขนมเทียน) ข้าวต้มหัวหงอก(ข้าวต้มที่คลุกด้วยมะพร้าวขูด ลักษณะเหมือนหัวขาวหรือหัวหงอก)หรือข้าวต้มมัดแบบทางเหนือ ข้าวแคบ ข้าวแต๋น ข้าวเปี่ยง(ขนมลิ้นหมา) และอาหารที่นิยมทำกันมากเกือบทุกบ้านคือแกงฮังเล ห่อนึ่ง(ห่อหมกแบบทางเหนือ ด้านในใส่ผักแค หรือผักพื้นบ้านหลายๆ ชนิด ข้าวคั่ว พริกแกง ห่อด้วยใบตองแล้วนำไปนึ่งให้สุก) ในวันนี้เป็นช่วงที่พระอาทิตย์ยังเนาอยู่ระหว่างราศีมีนกับราศีเมษ ในแง่โหราศาสตร์ถือเป็นวันไม่ดี ไม่นิยมประกอบพิธีมงคลใดๆ ในวันนี้ ในวัยเยาว์ ผู้เขียนมักได้รับคำบอกเล่าจากผู้ใหญ่ว่า ในวันนี้ห้ามพูดจาที่ไม่ดี ห้ามด่าทอและทะเลาะวิวาทกัน จะทำให้ปากเน่าเหม็นเป็นอัปมงคลตลอดทั้งปี ดังนั้นในวันนี้ชาวล้านนาในอดีตจะไม่ดุด่าว่าร้ายให้แก่กัน ผู้เขียนได้สนทนากับผู้เฒ่าผู้แก่ในยามเด็ก ซึ่งเชื่อว่าเป็นอุบายที่ต้องการให้คนทำจิตใจให้เบิกบ้าน ไม่มีเรื่องขุ่นข้องหมองใจ หรือทะเลาะวิวาทด่าทอกันในวันปีใหม่ เพื่อขจัดเอาโทสะ โมหะ ออกไปจากจิตใจ พร้อมทั้งชำระจิตใจให้ผ่องใสพร้อมที่จะรับสิ่งดีๆ ในวันขึ้นปีใหม่
มีเรื่องเล่าของชาวล้านนาที่สืบต่อกันมาถึงที่มาของวันเน่าว่า โดยปรากฏอยู่ในธรรม(คัมภีร์แบบล้านนา)เรื่องอานิสงส์ปีใหม่ ว่ามีพญาตนหนึ่งได้ตายจากไปในวันหลังวันสังขารล่อง แล้วกลายไปเป็นเปรตหัวเน่าคนจึงเรียกวันนี้ว่าวันเน่า ครั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า พระยาสุริยะครองเมืองกลิงคราษฏร์ เลี้ยงผีปีศาจไว้มากมาย ตายไปในวันหลังสังขารล่องหนึ่งวัน ไปเกิดเป็นเปรตหัวเน่าอยู่นอกฟ้าจักรวาล ครั้นภายหลังภริยาสองนางตายไปเกิดเป็นเปรตอยู่ด้วยกัน เปรตทั้งสองนางจึงช่วยกันล้างหัวเน่าของพญา จึงเรียกวันนี้ว่าวันเน่า มีความเชื่อของคนล้านนาในบางแห่งว่ามี ถ้าหากจะปลูกเรือนที่สร้างด้วยไม้ไผ่ ให้รีบตัดไม้ไผ่ภายในวันนี้ เพราะเชื่อว่าไม้จะไม่เน่าและไม่มีมอดหรือปลวกมากินไม้ วันเน่านี้บางปีมีสองวันบางปีมีวันเดียว ส่วนมากจะมีวันเดียว ปีที่มีสองวันสืบเนื่องมาจากการนับวันตามแบบจันทรคติ สี่ปีจะมีเดือนเดือนสิบสองหน(เดือนสิบเหนือ จะตรงกับเดือนแปดไทย ซึ่งทางเหนือจะนับเดือนไวกว่าสองเดือน) หรือสี่ปีมีเดือนแปด ๒ หนตามแบบไทยภาคกลาง ซึ่งเป็นการคำนวณวันเวลาตามแบบโหราศาสตร์ที่ตกทอดกันมาแต่ดั้งเดิม
ในวันนี้จะเป็นวันที่ตลาดเช้าของแต่ละหมู่บ้านจะคึกคักเป็นอย่างยิ่ง ทั้งพ่อค้าแม่ขายและผู้คนที่ออกไปจับจ่ายซื้อของกินของใช้ต่างๆ เช่น ช่อ ตุง ข้าวตอก ดอกไม้ ส้มป่อย ดอกคำฝอย ดอกสารภี หมาก เหมี้ยง เสื้อผ้า ข้าวของดำหัว ผลไม้ รวมทั้งวัตถุดิบในการประกอบอาหารและการทำขนม เพื่อใช้ในการทำบุญ และใช้สำหรับดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ ในสมัยที่ผู้เขียนยังเยาว์วัยอยู่นั้น ได้ตามย่าของผู้เขียนไปขายของที่ตลาด ต้องตื่นแต่เช้ามืดราวตีสาม เพราะผู้คนจะเริ่มไปจับจ่ายซื้อของกันตั้งแต่ตีสี่ ในครั้งนั้นย่าของผู้เขียนเองทำข้าวหนมไปขาย(ขนม ภาษาเหนือออกเสียงเป็นข้าวหนม) ส่วนมากได้แก่ข้าวเปี่ยง(ขนมลิ้นหมา) ข้าวต้มกล้วย ข้าวต้มถั่วดิน(ข้าวต้มมัดใส้กล้วย-ใส้ถั่ว) ผู้เขียนก็จะไปนั่งขายตุงเปิ้งที่ย่าของผู้เขียนตัดไว้ให้ และก้านเขียง(เต่าร้าง) ที่ใช้สำหรับผูกตุง พอยามสายเมื่อตลาดวายแล้วก็จะได้เงินไปซื้อผ้าใหม่ใส่เพื่อไปวัดในวันรุ่งขึ้น ซึ่งบรรยากาศในอดีตนั้นปัจจุบันหาดูได้น้อยลง ในสมัยโบราณวันนี้ลูกสาวของแต่ละบ้านจะตื่นเช้าเป็นพิเศษ เพื่อมาตำข้าวแป้งเนื่องจากสมัยก่อนยังไม่มีแป้งสำเร็จรูปเหมือนในสมัยนี้ ต้องใช้ข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวไปหม่า(แช่น้ำไว้ข้ามคืน) แล้วนำไปตำในครกมอง(ครกกระเดื่อง) หนุ่มๆ ก็จะตื่นแต่เช้าเช่นกันเพื่อถือโอกาสไปช่วยสาวๆ ตำข้าว อันที่จริงก็เพื่อที่จะไปจีบสาวเจ้านั่นเอง หนุ่มๆที่แอบชอบสาวผู้ใด ก็จะไปยังผามมองที่สาวนั้นไปตำข้าวเพื่อไปเกี้ยวสาว ซึ่งวิธีการเกี้ยวสาวสมัยโบราณจะผูกเป็นกลอนเรียกว่าค่าวจ้อย สำหรับผามมองหรือโรงครกกระเดื่องนั้นในอดีตมีอยู่ทุกบ้าน บางแห่งชาวบ้านใช้ผามมองร่วมกัน เป็นวัฒนธรรมของคนในอดีตที่แบ่งปันและเอื้อเฟื้อกันมาตลอด
ในช่วงเช้าของวันเน่าหรือวันดานี้ หลังจากที่แต่ละครอบครัวได้ช่วยกันตระเตรียมอาหาร และทำขนมสำหรับไปวัดและส่วนหนึ่งไว้ดำหัวและเลี้ยงแขกเรียบร้อยแล้ว ช่วงบ่ายคนในหมู่บ้านจะไปรวมตัวกันที่วัด เพื่อจะขนทรายเข้าวัดมาก่อเจดีย์ทราย ในสมัยโบราณนั้นการสร้างบ้านเรือนและวัดวาอาราม มักสร้างใกล้กับแม่น้ำลำคลอง ดังนั้นจึงไม่ยากนักที่ผู้คนจะช่วยกันตักเอาทรายในแม่น้ำนั้นขึ้นมาก่อเจดีย์ทราย ในสมัยที่ผู้เขียนยังเล็กนั้นบ้านเมืองเริ่มพัฒนาและเจริญขึ้น แม่น้ำลำคลองที่มีอยู่แต่เดิมเริ่มแห้งหายไป การไปขนทรายต้องไปขนที่แม่น้ำใหญ่ ในสมัยนั้นทางหมู่บ้านจะรวมตัวกันเพื่อจัดหารถหกล้อ ช่วยกันออกค่าน้ำมันรถเพื่อไปขนทราย แต่ละคนก็จะถือสลุง ขัน หรือถังไปคนละใบเพื่อไปช่วยกันตักทรายขึ้นรถ พอได้เต็มคันรถตามที่ต้องการแล้วจึงนำกลับมาที่วัด ในยุคสมัยนี้ประเพณีการขนทรายนั้นแทบจะไม่มีให้เห็นแล้ว แต่ละวัดจะสั่งให้ร้านที่จำหน่ายนำมาส่งให้ สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพาะแม่น้ำลำคลองไม่มีทรายเหลืออยู่ ส่วนที่มีอยู่ก็มีความลำบากในการลงไปตัก เนื่องจากปัจจุบันได้มีเครื่องดูดทรายที่ได้รับการสัมปทานเข้ามาแทนที่ และสาเหตุอีกประการหนึ่งเป็นเพราะเยาวชนคนรุ่นหลังห่างไกลจากวัด ด้วยสภาวะทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมนั้นถูกลืมเลือน และลดความสำคัญลงไป
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับประเพณีการก่อเจดีย์ทรายไว้ว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีพร้อมบริวาร ได้เห็นหาดทรายขาวบริสุทธิ์ก็เกิดจิตศรัทธาก่อทรายเป็นเจดีย์แปด หมื่นสี่พันองค์ แล้วอุทิศเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา เมื่อพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถามถึงอานิสงส์การก่อเจดีย์ทรายดังกล่าว พระพุทธเจ้าตรัสว่าการที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาก่อเจดีย์ทรายถึงแปดหมื่นสี่พันองค์ หรือเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือ จะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเพียบพร้อมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวารและเกียรติยศชื่อเสียง หากตายก็จะได้ขึ้นสวรรค์ พรั่งพร้อมด้วยสมบัติและมีนางฟ้าเป็นบริวาร ด้วยอานิสงส์ดังกล่าวจึงทำให้คนโบราณนิยมก่อเจดีย์ทรายเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้
อีกเรื่องเล่าหนึ่งที่ผู้เขียนเองได้รับฟังมาตั้งแต่เด็ก กล่าวคือคนโบราณเชื่อว่าการที่เราไปวัดในแต่ละครั้ง ได้เหยียบเอาเม็ดทรายติดเท้าเรากลับมาด้วย ดังนั้นในวันขึ้นปีใหม่แต่ละปี จึงต้องขนทรายไปคืนให้กับวัดเพื่อไม่ให้เป็นบาปกรรมติดตามตัว เช่นเดียวกับบทความจากหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าเป็นการชดเชยใช้หนี้คืนให้แก่ธรณีสงฆ์ เป็นการขอขมาต่อ ข่วงแก้วทั้งสาม (ลานพระรัตนตรัย) เพราะในอดีต ลานวัดจะปูด้วยทรายทั่วทั้งบริเวณ เรียกว่าลานทราย มีคติความเชื่อว่าลานทรายเปรียบเสมือนทะเลสีทันดรที่รอบล้อมจักรวาล ส่วนโบสถ์วิหารหรือพระเจดีย์เปรียบเป็น เขาพระสุเมรุศูนย์กลางของจักรวาล ยอดสูงสุดของพระเจดีย์ที่เรียวแหลม เหมือนจะทะลุฟ้าขึ้นไปนั้นคือเป้าหมายสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย อันอาศัยอยู่ในมงคลจักรวาลเรานี้ นั่นคือเมืองแก้วมหาเนรพาน หรือพระนิพพานเป็นที่สิ้นสุด ดังนั้น ทรายที่อยู่ตามลานวัดนั้นถือเป็นของสงฆ์ ทั้งนี้มีคติความเชื่อที่ว่าการนำของสงฆ์ออกไปโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น จะเป็นปาบอย่างใหญ่หลวง เนื่องจากการเดินเข้าข่วงลานวัดแล้วเดินออกไปจากวัด อาจจะมีดินทรายที่เยียบย่ำติดเท้าออกไปด้วย โดยที่เราไม่รู้ตัว เมื่อถึงเทศกาลปีใหม่เมือง ก็จะมีการขนทรายเข้าวัดเพื่อใช้หนี้สงฆ์จะได้ชดเชยบาปที่เม็ดทายติดตัวออกไป และทรายที่ขนมานั้นยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบูรณปฏิสังขรณ์ หรือนำไปใช้เพื่อปลูกสร้างสิ่งต่างๆ ภายในวัดให้เกิดประโยชน์ต่อไป
ในวันเน่า คนแก่คนเฒ่า หรือผู้ที่มีฝีมือในการตัดตุง ก็จะนำกระดาษว่าวหลากสีมาตัดเป็นตุงรูปลักษณะต่างๆ เช่น ตุงไส้หมู ตุงสิบสองราศี ตุงเปิ้ง และตุงจ้อ เพื่อเตรียมไว้ปักเจดีย์ทรายในวันพญาวัน ไม้ที่นิยมนำตุงไปมัดติด เช่น ต้นเขือง กิ่งไผ่ ต้นแหย่ง ต้นกุ๊ก เป็นต้น การตานตุงนี้ คนล้านนาเชื่อว่าหากเราตายไปตกอยู่ในนรกภูมิ ตุงที่เราทำถวายทานเป็นพุทธบูชานั้น จะไปกวัดแกว่งให้เราเกาะชายตุงนั้นไว้ ตุงจะนำพาเราให้รอดพ้นจากนรกอเวจี นำขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์
ในตำนานหิรัญนครเงินยางเชียงแสนกล่าวถึงการทานตุงว่า ทำให้มนุษย์สามารถหลุดพ้นจากการตกนรกไว้ว่า สิงห์กุฏฏอำมาตย์เอาธงคือตุงและหยาดน้ำ ครั้นสิ้นชีวิตต้องเสวยวิบากในนรก พญายมถือว่าได้ผลทานตุงและทานน้ำส่งกุศลให้ขึ้นสวรรค์ ยังมีเรื่องพรานฆ่าเนื้อเบื่อปลา เคยเห็นตุงพระประธานองค์ใหญ่วัดศรีโคมคำอันพายุพัดไปมาดูงามแก่ตายิ่งนัก จึงสร้างตุงผืนใหม่ถวายบูชา ครั้นตายไป ก่อนลงขุมนรกก็มีตุงที่ตนถวายทานแล้วนั้นพันกายให้พ้นจากนรก เมื่อตติยศักราชได้ ๙๐๖ ตัว ปีชวด อัฐศก เดือน ๗ เพ็ญ มีชาวบ้านนำตุงรูปภาพผืนหนึ่งมาบูชาพระประธานใหญ่ พอถวายแล้วก็เอาขึ้นแขวนบนเพดาน แล้วก็พลาดตกลงมาตาย ตุงผืนนั้นก็รับเอาชายผู้นั้นไปขึ้นสวรรค์ ไปปรากฏที่พระเกศแก้วจุฬามณี ด้วยเหตุนี้ในช่วงประเพณีปีใหม่ ชาวล้านนาจึงมีบูชาตุงและก่อเจดีย์ทรายถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องด้วยอานิสงส์ดังกล่าว
วันที่สามเรียกว่าวันพญาวัน วันพญาวัน วันที่สามของประเพณีปีใหม่เมือง ถือเป็นวันเถลิงศก เปลี่ยนศักราชเริ่มต้นปีใหม่ วันนี้มีการทำบุญทางศาสนาแต่เช้าตรู่ และอุทิศกุศลไปถึงญาติผู้ล่วงลับ เรียกว่า “ตานขันข้าว” การตานขันข้าว เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ ซึ่งประเพณีการตานขันข้าวนี้นอกจากวันปี๋ใหม่เมืองแล้ว ชาวล้านนายังนิยมตานขันข้าวในวันสำคัญ เช่น เข้าพรรษา ออกพรรษา วันแปดเป็ง สิบสองเป็ง และวันยี่เป็งเป็นต้น
การจัดสำรับกับข้าวไปถวายพระเพื่อตานขันข้าวนั้น บางบ้านจะจัดอาหารที่ผู้ล่วงลับไปแล้วชอบทานครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ และส่วนหนึ่งเป็นอาหารที่ได้เตรียมไว้ในวันดา เช่นแกงฮังเล ห่อนึ่ง ข้าวหนมต่างๆ นอกจากการตานขันข้าวให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว บางคนอาจอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร เทวบุตร เทวดา พ่อเกิด แม่เกิด แล้วแต่จิตศรัทธา และการตานขันข้าวอีกประเภทหนึ่งคือตานขันข้าวให้กับตัวเอง หรือเรียกว่าตานไว้ภายหน้า โดยชาวล้านนาเชื่อว่าคนเราหากตายไปแล้ว ต้องไปรับเอาผลบุญของตนเองที่ได้สั่งสมเอาไว้ในชาตินี้ และเป็นการสั่งสมบุญให้ตนเองหากตายไปแล้วจะไม่มีใครทำบุญไปให้ การตานขันข้าวในอดีตมีเกร็ดความเชื่ออยู่ว่า การทำบุญอุทิศไปหาผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น หากผู้ล่วงลับนั้นตายไปโดยปกติธรรมชาติ คือเสียชีวิตด้วยโรคชรา โรคร้ายต่างๆ ก็ตานขันข้าวภายในวัด แต่หากผู้ล่วงลับไปแล้วเป็นผีตายโหง หรือตายด้วยอุบัติเกตุ หรือการถูกฆ่าตาย ก็จะตานขันข้าวนอกวัด ด้วยการนิมนต์พระภิกษุหรือสามเณรออกมารับตานที่นอกกำแพงวัด เพราะเชื่อกันว่าผีตายโหงไม่สามารถเข้าไปในเขตวัดได้
นอกจากการตานขันข้าวดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีประเพณีการตานขันข้าวอีกสองประเภทคือ การตานขันข้าวให้กับคนเป็น คือการตานขันข้าวให้กับคนเฒ่าคนแก่ที่ไปวัด หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ที่พอนึกภาพออกก็คือ อุบาสกอุบาสิกา อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นไปอีกก็เหมือนกับการเอาข้าวปลาอาหารไปแบ่งปันให้คนเฒ่าคนแก่นั่นเอง แต่ประเพณีของชาวล้านนานั้น การตานขันข้าวคนเฒ่าคนแก่มักแต่งดาเป็นสำหรับ เมื่อนำไปมอบให้ ภาษาเหนือเรียกว่า “เกน” หรือหากใช้กับพระเรียกว่าประเคน ผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะให้พรปีใหม่แก่ผู้ตานขันข้าวให้อยู่เย็นเป็นสุขด้วย
การตานขันข้าวอีกประเภท คือการตานขันข้าวผีปู่ย่า ซึ่งเป็นผีบรรพบุรุษ บางบ้านจะมีการนับถือผีบรรพบุรุษ โดยการสร้างศาลเล็กๆ ขึ้น เพื่อเชิญดวงวิญญาณของบรรพบุรุษนั้นมาสถิตอยู่ เพื่อคอยปกก้องคุ้มครองลูกหลาน ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าผีดี นอกจากผีปู่-ย่า แล้ว ยังมีผีเสื้อวัด หรือ “เสื้อวัด” ซึ่งเป็นเสมือนเจ้าที่หรือผีดีที่คอยปกปักวัดวาอาราม ไม่ให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาทำลายวัดวาอารามหรือพระพุทธศาสนา เมื่อถึงวาระสำคัญต่างๆ ก็จะมีการตานขันข้าวผีปู่-ย่า เสื้อวัด โดยการจัดสำหรับกับข้าวไปเซ่นไหว้ และจุดธูปบอกกล่าวให้มารับเอาของเซ่นไหว้เหล่านั้น เรียกว่าการตานขันข้าวผีปู่-ย่า และเสื้อวัด
ในวันปี๋ใหม่เมืองนี้ผู้คนจะไปทำบุญตานขันข้าวกันเป็นจำนวนมาก เริ่มตั้งแต่เช้ามืด ดังนั้นในวันนี้พระสงฆ์สามเณรจะตื่นมาปฏิบัติศาสนกิจแต่เช้าเช่นกัน บางแห่งที่มีพระสงฆ์จำนวนหลายรูปก็อาจจะแยกกันไปรับถวายทานตามจุดต่างๆ ของวัด ทั้งที่บนศาลาการเปรียญ ศาลาบาตร(วิหารราย) ตามกุฎีของพระแต่ละรูป หรือใต้ต้นไม้เป็นต้น ปัจจุบันบางบ้านจะไปทำบุญตานขันข้าวกันก่อนล่วงหน้าตั้งแต่วันสังขารล่องและวันเน่า เนื่องจากหลีกเลี่ยงจำนวนคนที่หลั่งไหลกันไปทำบุญในวันพญาวัน หลังจากที่ตานขันข้าวเสร็จผู้คนก็จะพากันไปไหว้ท้าวทั้งสี่ประจำวัด บางแห่งบูชาท้าวทั้งสี่ด้วยสวยดอกไม้ บางแห่งบูชาด้วยข้าวเหนียว ซึ่งเป็นประเพณีนิยมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาของแต่ละท้องถิ่น ตามที่ผู้เขียนได้นำตัวอย่างมามาไว้ในตอนท้าวทั้งสี่ไปแล้ว
เมื่อเสร็จสิ้นจากภารกิจการตานขันข้าวและบอกกล่าวท้าวทั้งสี่แล้ว ชาวล้านนาก็จะไปใส่ขันแก้วตังสาม หรือขันดอกไม้เพื่อบูชาพระรัตนตรัย ดังที่ผู้เขียนได้กล่าวมาแล้วในเรื่องเครื่องสักการะของชาวล้านนา รวมทั้งใส่บาตรพระด้วย ประเพณีการใส่บาตรพระของชาวล้านนานั้นแตกต่างจากของภาคกลางเล็กน้อย กล่าวคือจำนวนบาตรที่นำมาตั้งไว้ให้ผู้คนใส่บาตรนั้นจะมีจำนวนเท่ากับพระในวัด และนิยมใส่บาตรด้วยข้าวเหนียวเป็นส่วนใหญ่ ส่วนอาหารนั้นทางวัดจะจัดเตรียมถาดใส่อาหารไว้อีกต่างหาก และจะมีเด็กวัดซึ่งเรียกกันว่า “ขโยม” หรือกรรมการวัด คอยทำหน้าที่ถ่ายข้าวในบาตรและอาหารออกอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากจำนวนผู้คนที่ไปทำบุญมีจำนวนมาก พอได้เวลาหลังจากที่ผู้คนที่ไปตานขันข้าวเริ่มซาลงไปแล้ว พระสงฆ์ก็จะเริ่มขึ้นมายังวิหารของวัด (ภาคกลางจะเป็นโบสถ์) จากนั้นขันดอกไม้ บาตรข้าว และสำหรับอาหารก็จะถูกนำขึ้นไปในวิหาร เพื่อประกอบพิธีทำบุญและถวายแด่พระสงฆ์ ก็ถือว่าเป็นการเสร็จสิ้นการทำบุญในช่วงเช้า แต่การทำบุญในวันพญาวันนี้ยังไม่สิ้นสุดเพียงเท่านี้ เมื่อเสร็จสิ้นพิธีดังกล่าวแล้ว ผู้คนก็จะพากันกลับไปบ้านของตน เพื่อกลับไปทานข้าวปลาอาหารมื้อเช้า พร้อมกับเตรียมตัวมาทำบุญในช่วงสายต่อ ขณะเดียวกันก็เพื่อให้พระสงฆ์ สามเณรได้ฉันจังหัน(ฉันเช้า) ก่อนที่จะปฏิบัติศาสนกิจในช่วงสายและช่วงบ่ายต่อไป
ในช่วงสายของวันพญาวัน ชาวล้านนาจะจัดข้าวของไปทำบุญที่วัดอีกรอบ โดยมีตุงปี๋ใหม่ ที่ผูกติดกับก้านเขียง หรือก้านกุ๊ก ไปปักที่เจดีย์ทราย พร้อมกับน้ำขมิ้นส้มป่อย และสวยดอกไม้ผูกติดไว้เพื่อเป็นการถวายตุงและเจดีย์ทราย เมื่อทุกอย่างพร้อมและได้เวลาแล้ว พ่อหนานหรืออาจารย์ผู้นำประกอบพิธีก็จะนำไหว้พระ รับศีล จากนั้นก็จะกล่าวถวายเจดีย์ทรายและผืนตุง นอกจากนี้จะมีเทศน์ปีใหม่ เป็นเรื่องราวของตำนานสงกรานต์และอานิสงส์ของการถวายเจดีย์ทราย และเทศอุณหัสสะวิชัย เป็นการส่งเคราะห์และปัดเสนียดจัญไรต่างๆ บางแห่งจัดให้มีพิธีสืบชะตาหลวงขึ้นในวันนี้ด้วย บางแห่งจัดช่วงเช้ารวมไปกับพิธีถวายเจดีย์ทราย บางแห่งแยกมาจัดช่วงบ่าย หากเป็นช่วงเช้าพิธีการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นก่อนเวลาเพล
เมื่อเสร็จสิ้นพิธีกรรมในช่วงสายแล้ว ภาพบรรยากาศหนึ่งที่มักเห็นหลังเสร็จสิ้นพิธี คือผู้คนจะกรูกันเข้าไปให้พระสงฆ์ผูกข้อมือให้เพื่อความเป็นสิริมงคล รวมทั้งตักเอาน้ำขมิ้นส้มบ่อยที่ผ่านพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และพิธีสืบชะตาหลวงแล้ว นำกลับไปประพรมที่บ้าน ประพรมให้ลูกหลาน และนำไปผสมน้ำอาบ กิจกรรมที่ชาวล้านนาถือปฏิบัติกันสืบมาหลังจากถวายเจดีย์ทรายแล้ว คือการดำหัวพระเจ้า หรือการสรงน้ำพระประธาน การสรงน้ำพระพุทธรูปสำคัญประจำวัด และพระธาตุประจำวัด รวมไปถึงพิธีดำหัวพระสงฆ์ด้วย จากนั้นผู้คนก็จะแยกย้ายกันกลับบ้าน เพื่อไปดำหัวบิดา มารดา ปู่ย่า ตา ยาย พ่ออุ้ย แม่อุ้ยของตน และดำหัวผีปู่-ย่า ด้วย การรดน้ำดำหัวของชาวล้านนานี้อาจจะกินเวลาไปสี่ถึงห้าวัน เนื่องจากในสมัยก่อนคนล้านนามักอยู่กันแบบเครือญาติขนาดใหญ่ กอปรกับการให้ความเคารพนับถือผู้อาวุโส จึงมักรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ภายในหมู่บ้าน และต่างหมู่บ้านใกล้เคียงกันด้วย
สำหรับข้าวปลาอาหารที่ชาวล้านนาแต่งดามาเลี้ยงผีปู่ย่า หรือการดำหัวผีปู่ย่า
การเลี้ยงผีปู่ย่านั้นชาวล้านนาจะเลี้ยงกันอีกครั้งในวันแรม ๙ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ(เดือน ๗ ไทย)
ประเพณีรดน้ำดำหัวของชาวล้านนั้น มีความแตกต่างจากประเพณีรดน้ำดำหัวของภาคกลาง กล่าวคือ การรดน้ำดำหัวของภาคกลางนั้น จัดให้ผู้ใหญ่นั่งที่โต๊ะหรือเก้าอี้ จากนั้นคนที่ไปรดน้ำขอพรมอบของที่ระลึกพร้อมกับใช้ขันใบเล็กๆ ลอยดอกมะลิ ผสมน้ำอบไทยให้มีความหอมสดชื่น รดที่มือของผู้ใหญ่ โดยมีขันหรือภาชนะรองรับน้ำที่รดมือนั้น พร้อมทั้งขอพรจากผู้ใหญ่ ต่างจากประเพณีรดน้ำดำหัวของชาวล้านนา โดยวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของล้านนาแล้ว ชาวล้านนาจะจัดเตรียมข้าวของไปดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ ประกอบไปด้วยข้าวของเครื่องใช้ อาหาร ขนม ผลไม้ต่างๆ อาทิ ผ้าขาวม้า ผ้าซิ่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ข้าวต้ม-ข้าวหนม (ขนม) ที่ได้จัดเตรียมไว้ตั้งแต่วันดา เช่น ข้าวหนมจ๊อก ข้าวแคป ข้าวแต๋น เป็นต้น ผลไม้ตามฤดูกาลสมัยก่อนในช่วงช่วงกรานต์จะเป็นมะปราง ซึ่งจะสุกในช่วงเวลานี้พอดี นอกจากนั้นก็จะเป็นข้าวสาร หมาก พลู หอม กระเทียม น้ำผึ้ง และปัจจัย ตามแต่ละบ้านจะพึงหาได้ เป็นเครื่องตอบแทนและแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ
นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน ถือเป็นเครื่องสักการะที่ขาดไม่ได้ และที่สำคัญคือน้ำขมิ้นส้มป่อย ในขันน้ำใส่ส้มป่อย ส้มป่อยที่ชาวล้านนาถือว่าดีที่สุดคือส้มป่อยที่เก็บในเดือนห้าเป็ง (วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ เหนือ) ดอกคำฝอย ดอกสารภี และดอกบุญนาค ซึ่งเป็นดอกไม้ที่ให้กลิ่นหอม เนื่องจากในสมัยก่อนชาวล้านนาไม่มีน้ำอบไทยใช้และยังไม่เป็นที่แพร่หลายเฉกเช่นปัจจุบัน พิธีดำหัวเริ่มจากที่เตรียมข้าวของดังกล่าวเสร็จแล้ว จัดใส่ถาด ขันโตก หรือสลุง จากนั้นจะยกเกน หรือประเคนให้กับผู้เฒ่าผู้แก่ เมื่อท่านรับแล้วก็จะพนมมือขึ้นพร้อมกับให้พร การให้พรปี๋ใหม่เมืองของชาวล้านนานั้น จะผูกเป็นถ้อยความเรียบร้อยต่อกันไพเราะยิ่งนัก ลักษณะคล้ายพรพระที่เป็นภาษาบาลี ความยาวของการให้พรนั้นสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้นั้นๆ บางท่านให้พรยาวเนื่องจากเคยบวชเรียนมาก่อน บางท่านให้พรสั้นแตกต่างกันไป พรปี๋ใหม่เมืองของชาวล้านนานั้นจะขึ้นด้วย “เอวังโหตุ ดีและอาจจะในวันนี้ก็เป็นวันดี ดิถีอันวิเศษเหตุว่าเป็นวัน..... บัดนี้หมายมี.... ไปจนจบ และลงท้ายด้วย อายุวัณโณ สุขัง พลัง” เมื่อให้พรจบท่านจะใช้มือแตะน้ำขมิ้นส้มป่อยแล้วนำมาลูบศีรษะตนเอง จากนั้นผู้ที่ไปดำหัวก็แตะน้ำขมิ้นส้มป่อยแล้วนำมาลูบที่ศีรษะตนเช่นกัน บางท่านจะประพรมน้ำขมิ้นส้มป่อยให้ก็มี
ในวันพญาวันนี้ บางท้องที่นิยมตานไม้ค้ำศรี (ไม้ค้ำต้นโพธิ์) ไม้ค้ำศรี(ออกเสียงว่าสะหลี) เป็นไม้ง่ามทำมาจากไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้ฉำฉา หรือไม้เนื้อแข็ง เลือกเอาท่อนที่มีลำต้นตรงสวยงาม จากนั้นนำมาแกะเปลือกไม้ออก ตากให้แห้งแล้วทาด้วยสีขาว หรือสีเหลือง บางแห่งเขียนลายประดับลงไปด้วย บางแห่งใช้กระดาษเงิน-กระดาษทองมาฉลุลายตกแต่งสวยงาม การตาน หรือถวายไม้ค้ำศรีนี้ถือคติว่าเป็นสัญลักษณ์ในการค้ำชูพระศาสนาให้ยาวนานต่อไป และเพื่อเป็นการสืบชะตา ค้ำอายุตัวเอง และเสริมสิริมงคลในวันปี๋ใหม่เมือง หรือวันเริ่มต้นปีใหม่
ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ของชาวล้านนาในปัจจุบัน
ในการตานไม้ค้ำศรีนี้ รัตนา พรหมพิชัย ได้กล่าวถึงประเพณีดังกล่าวว่า ในบางวัดมีต้นโพธิ์ใหญ่กิ่งก้านสาขามากมาย ได้โอกาสนี้ใช้ไม้ค้ำโพธิ์ยึดค้ำกิ่งก้านสาขาไว้ไม่ให้โน้มลงมาจนกิ่งหักได้ สภาวธรรม และก่อนการตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากหนังสือสังขยาโลก กล่าวถึงตำนานการค้ำโพธิ์ว่า อดีตมีพระภิกษุรูปหนึ่งออกธุดงค์ในป่าลึก ระหว่างทางเห็นต้นไม้แห้งตายต้นหนึ่งมีลำต้นสวยงาม คิดว่าจะนำต้นไม้ต้นนี้กลับไปที่วัดที่จำพรรษาอยู่ แต่ก็ได้มรณภาพไปเสียก่อน ด้วยเหตุนี้จิตจึงผูกพันกับต้นไม้นี้ จึงไปเกิดเป็นตุ๊กแกอยู่ในโพรงไม้ต้นนี้ และตุ๊กแกได้ไปดลใจชาวบ้านให้รู้ว่าท่านเกิดเป็นตุ๊กแก และขอให้ชาวบ้านช่วยให้พ้นจากทุกข์ โดยการนำต้นไม้ต้นนี้ไปค้ำต้นโพธิ์ที่วัด ตุ๊กแกจึงพ้นจากความทุกข์และไปเกิดเป็นมนุษย์ในภพต่อมา ต้นไม้ศรี หรือ ต้นโพธิ์ คือ ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับอาศัยร่มเงา ในคืนที่ทรงพิจารณา ด้วยความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และตำนานที่กล่าวมา ต้นโพธิ์จึงเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ห้ามตัดฟันโดยเด็ดขาด และมีข้อห้ามตัดไม้ศรี ปรากฏในความเชื่อเรื่องขึด เรียกว่า “รานศรี” หรือ “ฮานศรี” ซึ่งเรื่องของการตัดทำลายต้นศรีมหาโพธิ์นี้ยังปรากฏอยู่ในธรรมมาลัยโผดด้วย ซึ่งหากผู้ใดตัดทำลายต้นศรีมหาโพธิ์จะมีบาปติดตัว ต้องตกนรกภูมิได้รับทุกขเวทนา นอกจากนี้ชาวล้านนายังมักนำไม้ค้ำ สะพานเงิน สะพานคำ จากพิธีสืบชะตามาวางไว้บนค่าคบหรือใต้ต้นของต้นโพธิ์ เพราะเชื่อว่าจะทำให้มีอายุยืนยาว
รัตนา พรหมพิชัย ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับขบวนแห่ไม้ค้ำศรีในป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองว่า มีการประโคมโหมแห่ด้วยเครื่องแห่พื้นเมือง เช่นแห่กลองมองเซิง แห่กลองปู่เจ่ แห่กลองสิ้งหม้อง ในขบวนจะมีพ่อบ้าน แม่บ้านถือตุงช่อ (ธงสามเหลี่ยม) หมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นผึ้ง ต้นเทียน หาบหรืออุ้มสลุงบรรจุน้ำขมิ้นส้มปล่อย น้ำสุคันโธทกะ น้ำอบน้ำหอมซึ่งเป็นเครื่องสักการะ คนเฒ่าคนแก่ผู้ชายตบมะผาบ วาดลายเชิงอวดกัน บ้างก็ฟ้อนดาบ ส่วนไม้ค้ำก็จะหามแห่ หรือตกแต่งบนรถให้งดงาม พอขบวนถึงวัด ก็จะนำไม้ค้ำโพธิ์ขึ้นค้ำ โดยชายหนุ่มหาญที่แข็งแรงจะช่วยกันดึงไม้ค้ำขึ้นค้ำต้นโพธิ์ เพราะไม้ค้ำแต่ละต้นต้นใหญ่มาก พอค้ำเสร็จก็นิมนต์พระมารับการถวายไม้ค้ำโพธิ์ จะมีการรดน้ำส้มป่อยที่ตัวไม้ค้ำเพื่อขอขมาครัวทาน และรับพรจากพระเป็นอันเสร็จพิธี
วันปากปี๋ วันที่สี่ของประเพณีปี๋ใหม่เมือง จัดว่าเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งในเทศกาลปีใหม่ของชาวล้านนา ถือเป็นวันแรกของปี มีความเชื่อของคนล้านนาอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ การที่ทุกหลังคาเรือนจะมีการทำอาหารที่เหมือนกันคือการทำแกงขนุน หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “แก๋งบ่าหนุน” หรือบางบ้านอาจทำเป็นตำขนุนหรือ “ต๋ำบ่าหนุน” โดยเชื่อกันว่าเมื่อได้ทานแกงขนุนในวันปากปี จะช่วยหนุนนำชีวิตให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง ประกอบกิจการงานใดก็สัมฤทธิผล มีคนอุดหนุนค้ำจุนและเกิดสิริมงคลในครอบครัว ความเชื่อของการทานแกงขนุน อาจจะมาจากชื่อขนุนที่มีความหมายถึงการเกื้อหนุน ค้ำจุนแล้ว การทานแกงขนุนในวันปากปียังเชื่อว่าจะช่วยหนุนนำไปตลอดทั้งปีด้วย
แกงขนุน ชาวล้านนาแทบทุกบ้านจะแกงขนุนทานกันในปากปี
ช่วงเช้าของวันปากปี ชาวล้านนาจะไปรวมตัวกันที่วัด เพื่อทำพิธีส่งเคราะห์ หรือส่งหาบ ตามที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในเรื่องของการส่งเคราะห์ไปแล้ว บางแห่งยังมีพิธีบูชาข้าวลดเคราะห์ เป็นการนำเอาข้าวมาปั้นเป็นก้อน จำนวน ๙ ก้อนหรือตามอายุของแต่ละบุคคล ต่อจากนั้นนำไปถวายแด่พระประธานและพระสงฆ์ในพระวิหาร ซึ่งบางแห่งเรียกพิธีกรรมนี้ว่า การบูชาเคราะห์ปีใหม่ หรือ บูชาสระเคราะห์ ในบางชุมชนหรือบางหมู่บ้านจะกระทำกันที่บ้านเรือนของตน โดยมีพ่อหนาน หรืออาจารย์มาทำพิธีให้ที่บ้าน บางหมู่บ้านในชุมชนล้านนาที่มีเสาใจกลางบ้าน(เสาหลักบ้าน) จะมีพิธีสืบชะตาหมู่บ้าน ส่งเคราะห์บ้านในเช้าวันนี้ด้วย แต่ละหมู่บ้านจะจัดขึ้นหลังวันพญาวัน และมักจัดขึ้นบริเวณใจกลางหมู่บ้าน ปัจจุบันหลายพื้นที่ไม่มีประเพณีทำบุญกลางใจ๋บ้านแล้ว ดังนั้นจึงได้ยุบรวมเอาประเพณีดังกล่าวมาไว้ที่วัด เป็นการจัดพิธีสืบชะตาหลวงแทน อาจเนื่องมาจากสาเหตุที่ผู้คนในปัจจุบันต้องออกไปประกอบอาชีพอยู่ต่างถิ่นเสียส่วนใหญ่ ทำให้ขาดบุคลากรที่สืบสานประเพณีวัฒนธรรมเหล่านี้ คงเหลือเพียงผู้เฒ่าผู้แก่ไม่มากนัก จึงเกินกว่ากำลังที่จะจัดพิธีเหล่านี้ขึ้นมาได้ เนื่องจากต้องอาศัยความร่วมไม้ร่วมมือของทุกคนในชุมชน กอปรกับในวันปี๋ใหม่เมืองนั้นลูกหลานที่ออกไปทำงานต่างถิ่นได้กลับมาพร้อมหน้ากัน ดังนั้นในวันพญาวันที่ทุกครอบครัวออกไปทำบุญจึงถือโอกาสเข้าร่วมพิธีสืบชะตาหลวง เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตด้วย
หลังจากที่เสร็จสิ้นพิธีกรรมในช่วงเช้าแล้ว กิจกรรมในวันปากปีนี้จะเป็นการไปรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือในหมู่บ้าน รวมทั้งต่างหัววัดด้วย คำว่า ต่างหัววัดหมายถึงเจ้าอาวาสวัดในหมู่บ้านอื่น และคำว่าดำหัวปี๋ใหม่ กับคำว่าสระเกล้าดำหัวนั้นมีความหมายต่างกัน คำว่าดำหัว เดิมมีความหมายเช่นเดียวกับสระเกล้าดำหัว คือการสระผม แต่ในความหมายของชาวล้านนาคำว่าดำหัวในที่นี้หมายถึง การไปแสดงความเคารพขออโหสิกรรมที่อาจได้ล่วงเกินในเวลาที่ผ่านมา รวมทั้งการไปขอพรพระสงฆ์ ญาติผู้ใหญ่ ผู้อาวุโสในหมู่บ้าน ครูบาอาจารย์ ผู้บังคับบัญชาเป็นต้น และในวันนี้เป็นวันเริ่มดำหัวบุคคลสำคัญของชุมชน การดำหัวแบบนี้ นิยมร่วมกันทำทั้งหมู่บ้านโดยจะมีการปรึกษาหารือกันว่าจะไปดำหัวใครบ้าง เช่น คนแก่คนเฒ่าที่มีอายุมากที่สุดในชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านจะนำของดำหัวมารวมกัน โดยข้าวของส่วนใหญ่ที่นำมานั้นเป็นของที่หาได้ในชุมชน ไม่ต้องใช้เงินตราซื้อหามาในราคาแพงๆ เฉกเช่นปัจจุบัน ในวัยเด็กผู้เขียนได้ตามย่าของผู้เขียนไปวัด และได้ไปร่วมพิธีรดน้ำดำหัวพระสงฆ์ต่างหัววัด ของที่นำไปดำหัวต่างวัด และดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านโดยหลักแล้วประกอบไปด้วยต้นผึ้ง ต้นดอกที่ทำขึ้นแบบง่ายๆ สุ่มหมาก สุ่มพลู ตามที่ได้อธิบายไว้ในเรื่องเครื่องสักการะของชาวล้านนา นอกจากนี้อาจมีข้าวของอื่นเพิ่มเติมเช่นมะพร้าว กล้วย ผลไม้ตามฤดูกาล น้ำผึ้งเป็นต้น จากนั้นจัดริ้วขบวนฟ้อนรำแห่ประโคมฆ้องกลองกันอย่างเอิกเกริกเดินตามกันไปเป็นหมู่คณะสวยงาม
ในช่วงกลางคืนของแต่ละบ้าน วันนี้จะมีการจุดเทียนบูชาพระ เรียกว่าจุดเทียนสะเดาะเคราะห์ สืบชะตา บูชาโชค ประกอบด้วยเทียนจำนวนสามเล่มต่อหนึ่งคน เทียนที่จุดบูชานี้เป็นเทียนที่ทำมาจากขี้ผึ้งแท้ บนเทียนเขียนคาถาแบบล้านนา เพื่อสะเดาะเคราะห์ให้เจ้าของชะตา เทียนเล่มที่สองเป็นเสมือนเทียนสืบชะตา และเล่มที่สามนั้นจุดเพื่อบูชาโชคหรือขอโชคชัย การเขียนเทียนนั้นจะเขียนโดยพระสงฆ์หรือพ่อหนาน ผู้ซึ่งเคยบวชเรียนมาก่อน ปัจจุบันเทียนขี้ผึ้งแท้หายากขึ้นจึงได้นำเอาเทียนไขมาเขียนแทน การจุดเทียนในวันปากปีมีความเชื่อเช่นเดียวกันกับการทานแกงขนุน คือให้มีระยะเวลาครอบคลุมไปตลอดทั้งปี ซึ่งชาวล้านนาเรียกว่า “กุ้มปี๋”
ประเพณีปีใหม่เมืองของคนล้านนา แท้จริงแล้วเป็นกุศโลบายที่สอดคล้องเหมาะสมกับกาลเวลา เป็นประเพณีที่งดงาม รื่นเริง สนุกสนาน สร้างความสมัครสมานสามัคคี เกิดความสุขอบอุ่นในครอบครัวและสังคม เป็นการเตือนตนสำรวจตัวเอง ให้ละทิ้งสิ่งไม่ดีไม่งาม ชำระล้างจิตใจให้ผ่องใส เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่พร้อมด้วยความดีงาม ความเป็นมงคล โดยผ่านกิจกรรม พิธีกรรมต่างๆ ที่ไม่ใช่เพียงแค่ความสนุกสนานจากการสาดน้ำ หรือการดื่มของมึนเมาจนเกิดการทะเลาะวิวาทดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบันตอนที่ 12
ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง การเริ่มต้นแห่งศักราชใหม่
(ผู้เขียน พนมกร นันติ)
ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง หรือเทศกาลสงกรานต์ คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้นสู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ตามประเพณีของไทยอยู่ในวันที่ ๑๓, ๑๔ และ ๑๕ เมษายน ของทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก สำหรับป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองของชาวล้านนานั้น ไม่ได้มีระยะเวลาเพียงแค่สามวันดังกล่าว หากแต่มีระยะเวลารวมไปถึงเจ็ดวัน กิจกรรมส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลนี้ประกอบด้วย การทำความสะอาดบ้านเรือน ทำบุญ สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำกัน เป็นต้น กิจกรรมที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ตามประเพณีของไทย ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างเทศกาลสงกรานต์และป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง มีลักษณะทั้งความเหมือนและความต่าง กล่าวคือ ป๋าเวณีปีใหม่เมืองของชาวล้านนายังมีพิธีกรรมอีกหลายอย่าง ซึ่งแต่ละท้องถิ่นแต่ละชุมชนยังมีความแตกต่างกันออกไปอีก ตามวิถีที่ได้ส่งผ่านกันมาจากรุ่นก่อนๆ
อย่างไรก็ดี นอกจากกิจกรรมดังกล่าวแล้ว ประเพณีสงกรานต์ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง สำหรับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองนั้น ในแต่ละปีจะมีปฏิทินหรือที่เรียกกันว่าหนังสือปี๋ใหม่เมือง เป็นปฏิทินประกาศสงกรานต์ในแต่ละปี ว่าในปีนั้นๆ เป็นปีนักษัตรอะไร นางสงกรานต์ชื่ออะไร นอกจากนี้ในหนังสือปี๋ใหม่เมืองยังบอกด้วยว่าในปีนั้นๆ มีนาคให้น้ำกี่ตัว การพยากรณ์เกณฑ์การให้น้ำมากน้อย การเพาะปลูกจะดีหรือไม่ ข้าวของต่างๆ จะถูกหรือแพง การทำนายเกณฑ์ชะตาชีวิตถึงคนเกิดวันต่างๆ ว่าคนเกิดวันใดมีเคราะห์ วันใดมีโชคดี รวมทั้งบอกวันดีต่างๆ ไว้ ว่าวันไหนเป็นวันอธิบดี วันธงชัย และวันโลกาวินาศ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งเป็นการทำนายตามหลักโหราศาสตร์โบราณล้านนา ในปฏิทินดังกล่าวยังได้กล่าวถึงว่าในปีนั้นๆ ดอกไม้ ต้นไม้ และสัตว์ชนิดไหนเป็นใหญ่ในหมู่ดอกไม้ ต้นไม้ และสัตว์ทั้งหลาย บางฉบับหรือบางตำราได้คำนวณยามอุบากอง หรือวันเก้ากอง ซึ่งเป็นโหราศาสตร์เกี่ยวกับวัน เวลา ในการประกอบพิธีมงคล และฤกษ์ในการเดินทางไว้ให้ด้วย
ตามประเพณีไทยถือเอาวันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ คำว่าสงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หมายถึงการที่ดวงอาทิตย์ ขึ้นสู่ราศีใหม่ อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกเดือน ที่เรียกว่าสงกรานต์เดือน แต่เมื่อครบ ๑๒ เดือนแล้วย่างขึ้นราศีเมษอีกครั้ง จัดเป็นสงกรานต์ปี ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ ในทางโหราศาสตร์ มหาสงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้นหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ หมายถึงสงกรานต์ปี คือปีใหม่ ก่อนที่เราจะถือวันสงกรานต์เป็นปีใหม่แบบไทยนั้น สมัยโบราณเราถือเอาวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะถือว่าฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ซึ่งจะตกราวเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการสังเกตธรรมชาติและฤดูการผลิตทางการเกษตร เป็นวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ หรือประมาณเดือนเมษายน ครั้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ ๑ เมษายน ปกติวันสงกรานต์จะมี ๓ วัน คือ เริ่มวันที่ ๑๓ เมษายน ถึงวันที่ ๑๕ เมษายน วันแรกคือวันที่ ๑๓ เป็นวันมหาสงกราต์ วันที่พระอาทิตย์ต้องขึ้นสู่ราศีเมษ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา (พระอาทิตย์คงอยู่ที่ ๐ องศา) วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศกใหม่ และเริ่มจุลศักราชในวันนี้ เมื่อก่อนจริงๆ มีถึง ๔ วัน คือวันที่ ๑๓ -๑๖ เป็นวันเนาเสีย ๒ วัน วันเนาเป็นวันที่ไม่มีกิจกรรมใดๆ เป็นวันที่เว้นว่าง พักการงานต่างๆ เป็นการชั่วคราว จะเห็นได้ว่า วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ประกาศให้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับหลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ ประชาชนก็ยังยึดถือว่าวันสงกรานต์มีความสำคัญ เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ไทย ซึ่งแต่เดิมแม้จะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน ก็ไม่ได้ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน ดังเช่นปัจจุบัน จนเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๔ เป็นต้นมา ได้กำหนดให้เป็นวันที่ ๑๓ เมษายน ตามปฏิทินเกรกอรี่ นอกจากประเทศไทยแล้วยังมีชาวมอญ พม่า ลาว เขมร และชนชาติไทยเชื้อสายต่างๆ อันเป็นชนส่วนน้อยในจีน และอินเดีย ก็ถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ด้วยเช่นกัน
วันสงกรานต์เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ซึ่งกษัตริย์สิงหศแห่งพม่า ทรงตั้งขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ ปีกุน พ.ศ. ๑๑๘๑ โดยกำหนดเอาดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษได้ ๑ องศา กอปรกับไทยเราเคยนิยมใช้จุลศักราชมาแต่เดิม สงกรานต์จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยอีกด้วย ในปีแรกที่กำหนดเผอิญเป็นวันที่ ๑๓ เมษายน ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่วันที่ ๑๓ เมษายนทุกปี แต่เมื่อเป็นประเพณี ก็จำเป็นต้องเอาวันนั้นทุกปี เพื่อมิให้การประกอบพิธี ซึ่งมิได้รู้โดยละเอียดต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา วันที่ ๑๓ จึงเป็นวันสงกรานต์ของทุกปี
วันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่าวันเนา และรัฐบาลสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณได้ประกาศให้เป็นวันครอบครัวด้วย วันเนา แปลว่า วันอยู่ คำว่า “เนา” แปลว่า “อยู่” หมายความว่าเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์มา ๑ วัน วันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย่างสู่ราศีตั้งต้นปีใหม่ วันเนาเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าที่เข้าทาง ในวันราศีตั้งต้นใหม่เรียบร้อยแล้ว คืออยู่ประจำที่แล้วส่วนวันที่ ๑๕ เมษายน เรียก วันเถลิงศก แปลว่า วันขึ้นศก เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เปลี่ยนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ ๓ ถัดจากวันมหาสงกรานต์ ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่า การย่างขึ้นสู่จุดเดิมสำหรับต้นปีนั้นเรียบร้อยดี ไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่จะเปลี่ยนศกถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็น วันที่ ๓ ก็หมายความว่า อย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวเข้าสู่ราศีใหม่ ไม่น้อยกว่า ๑ องศาแล้ว
ความแตกต่างระหว่างประเพณีไทยภาคกลาง และป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองของชาวล้านนา มีความเหมือนและต่างกัน กล่าวคือทางล้านนาเรียกวันที่ ๑๓ เมษายนว่า วันสังขารล่อง ชาวล้านนาถือเอาวันนี้เป็นวันที่สังขารเก่าล่วงไป หมายความว่าเป็นวันที่อายุสิ้นไปอีกปีหนึ่ง และเริ่มต้นอายุของปีใหม่ วันที่ ๑๔ เมษายน เรียกวันเน่า เป็นวันห้ามพูดจาหยาบคาย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ปากเน่าและไม่มีความเจริญ ส่วนวันที่ ๑๕ เมษายน เรียกวันพญาวัน คือวันเปลี่ยนศกใหม่ ซึ่งผู้เขียนจะได้อธิบายประเพณีและพิธีกรรมของชาวล้านนาในแต่ละวันนั้นในลำดับถัดไป
เรื่องเล่าเกี่ยวกับวันสงกรานต์และนางสงกรานต์ เป็นตำนานที่รัชกาลที่ ๓ โปรดให้จารึกไว้ในแผ่นศิลา ๗ แผ่น ติดไว้ที่ศาลารอบพระมณฑปทิศเหนือ ภายในวัดพระเชตุพนวิมลมัง

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2563

ผางลาง



           ผางลาง



      เล่าเรื่องอดีตตอนของเก่าของแก่ชนิดหนึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ ผางลาง “ ปกติจะมี 2 ตัวคือตัวผู้และตัวเมีย ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมีย เสียงก็แตกต่างกัน ผางลางจะมีเสียงกึกก้องก็ต่อเมื่อเราต้องเขย่าถึงจะมีเสียงเกิดขึ้น เสียงของผางลางจะดังกึกก้องไปไกลเป็นกิโลเมตรอยู่ต่างหมู่บ้านก็จะได้ยิน เสียงชัดเจน เสียงของผางลางจะกังวานไพเราะเสนาะหูกว่าเสียงของกระดิ่งวัวควายหลายเท่า เดี๋ยวนี้มีเหลืออยู่ไม่มาก


    คนสมัยก่อนใช้ผางลางใน 3 กรณีคือ      1.เมื่อมีเหตุที่ทำให้เกิดความสุขและความดีงาม เช่น หลังเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วก็จะนำผางลางมาเขย่าให้เกิดเสียงดังเพื่อประกาศ ให้คนทั่วไปทั้งในหมู่บ้านและบ้านใกล้เรือนเคียงได้ทราบว่าเก็บเกี่ยวข้าว เสร็จแล้วและข้าวอุดมสมบูรณ์ดี และเป็นการขอบคุณเทวดาหรือขอบคุณดินฟ้าอากาศที่ทำให้ได้ผลผลิตมากและขอให้ปีหน้าผลผลิตข้าวอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิมและถือเป็นการละเล่นสนุกสนานก็ได้2.เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ เช่น เกิดกบกินเดือนหรือจันทรุปราคา ปกติชาวบ้านสมัยก่อนถ้ามีเหตุการณ์ไม่ปกติ เช่น กบกินเดือนก็จะใช้วิธีตีเกราะเคาะไม้ให้เกิดเสียงดัง ตีเล้าเป็ดเล้าไก่ ตีปี๊บ และอีกอย่างหนึ่งถ้าหมู่บ้านไหนมีผางลางชาวบ้านจะนำผางลางมาเขย่าให้เกิด เสียงดังเพื่อจะไล่ให้กบคายเดือนออกมาอย่างนี้เป็นต้น
3. การค้าขายโบราณมักจะบรรทุกข้าวของเดินทางแรมรอนไปแลกเปลี่ยนสินค้าต่างถิ่น เรียก ขบวนวัวต่าง ก่อนออกเดินทางพ่อค้าวัวต่างจะผูกผางลางใว้บนหลังวัวนำขบวน พอวัวเริ่มเดิน ผางลางก็จะแกว่ง เป็นการส่งสัญญานแก่ขบวนวัวต่างที่สวนผ่านมา เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นด้วย ส่่วนกระดิ่งที่ผูกคอวัวในขบวนวัวต่าง จะเรียก"เด็งปันเมา"จะเป็นกระพรวนห้าลูกบ้างเจ็ดลูกบ้าง เพราะการเดินทางแบบนี้จะทำให้เบื่อหน่าย การได้ยินกระพรวนแกว่งไกวจะทำให้เพลิดเพลินในอารมณ์ คลายเหงาในการเดินทางได้บ้าง


ขอบคุณข้อมูลจาก
เพจ : เรื่องเล่าชาวล้านนา


วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2563

พญาลวง


พญาลวง




    พญาลวง คือสัตว์ในตำนานชนิดหนึ่งที่มีปรากฏอยู่ในศิลปกรรมล้านนาเกือบทุกประเภท มักถูกเข้าใจว่าเป็นพญานาค หากสังเกตและวิเคราะห์ให้ดีแล้วจะพบว่าแตกต่างกัน ซึ่งพญาลวงจะมีขาสี่ขาอย่างมังกร มีหู มีปีก และมีเขา ซึ่งพญาลวงนี้เป็นสัตว์ในนิยาย ที่ปรากฏรูปในศิลปกรรมล้านนา คำว่า ลวง ในที่นี่ อาจหมายถึงสัตว์ในตำนานชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าใจว่ารับรูปแบบมาจากศิลปกรรมของจีน เพราะมีลักษณะคล้ายมังกรของจีน แต่พญาลวงของล้านนานั้น มีรูปร่างลักษณะที่เหมือนจริงมากกว่า

    พญาลวง เป็น สัตว์มงคล เป็นสัตว์นำโชค ของคนไทลื้อ ซึ่งเชื่อว่า ถ้าทำความดี จะได้เจอกับ พญาลวง ซึ่งเป็นสัตว์ที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างมนุษย์ และสวรรค์ พญาลวง ประกอบด้วย สัตว์ มงคล 5 อย่าง ได้แก่ ช้าง,กวาง,ปลา,นก ,สิงห์ เรียก หรือ เข้าใจ ง่ายๆ ว่า เป็น มังกร “ไทลื้อ” หรือ คำว่า ” เล้ง” หลง ก็ คือ มังกร ในภาษาจีน มีการผสมสัตว์สองชนิดเข้าด้วยกันได้แก่ มังกรและพญานาค รูปลักษณ์ของตัวลวง นำมาจากสัตว์หลายประเภท เช่น มีเขาเหมือกวาง มีหัวคล้ายวัว มีเกล็ดและหางเหมือนปลา มีงวงและงา เหมือนช้าง มีเท้าเหมือนม้า และมีปีกเหมือนนก เชื่อกันว่าพญาลวงเป็นสัตว์มงคล ถ้าบินอยู่บนฟ้าก็จะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ถ้าอยู่ในท้องน้ำก็จะทำให้ท้องน้ำบริเวณนั้นอุดมสมบูรณ์




    พญาลวง ตัวลวงของล้านนามีลักษณะคล้ายมังกรและพญานาครวมกัน จะมีเขา ปีก และขา เชื่อว่าคำว่า “ลวง” เป็นชื่อที่เพี้ยนมาจากคำว่า “เล้ง” ที่แปลว่า มังกร ซึ่งมีความหมายถึงพลัง อำนาจ ความยิ่งใหญ่ เพศชายราตรีใดที่มองเห็นฟ้าแลบแปลบปลาบทาบขอบฟ้าแดนไกลดูช่างงดงามกระไรหาใดเปรียบ ความงามจากปรากฏการณ์นี้ชาวล้านนาเรียกขานว่า “ลวงเล่นฝ้า”

    ความงามนี้ กวีได้นำมาเปรียบเทียบเชิงอุปมาว่า เสมือนอาการของนารีผู้เลอโฉมกำลังยกบาทย่างย้าย ดังที่ปรากฏในวรรณกรรมคร่าวบทหนึ่งว่า “ร่างก็แค้ว แอวก็ไหว ยกย่างไป เหมือนลวงเล่นฝ้า”บทกวีดังกล่าว ทำให้เกิดความสงสัยว่า “ลวง” คืออะไร ทำไมไประเริงเล่นในหมู่มวลเมฆ ตรงนี้มีคำตอบจากเรื่องเล่าของชาวบ้านที่เล่าสืบกันมาว่า “ลวง” หรือ “พญาลวง” เป็นสัตว์ครึ่งนาคครึ่งมังกร กลายร่างจากท่อนไม้ลิ้นฟ้า(เพกา) ที่ชาวบ้านนำมาวางกั้นบริเวณร่องน้ำที่รับน้ำฝนจากชายคาเพื่อมิให้น้ำเข้าใต้ถุนเรือน โดยจะกลายร่างในเวลากลางคืนเลื้อยขึ้นผยองบนท้องฟ้า มุ่งหน้าไปยังเขาสัตตบริภัณฑ์เพื่อไปกิน “หน่อเงิน หน่อคำ” ที่เขาแห่งนั้น จวบจนฟ้าสางใกล้สว่างก็กลับมานอนเป็นท่อนไม้ขวางขนานกับร่องน้ำตามปกติ ลักษณาการที่พญาลวงเยื้องย่างกรีดกรายเลื้อยชำแรกแทรกดั้นไปในกลีบเมฆน้อยใหญ่ ด้วยอานุภาพพญาลวงจึงทำให้เกิดแสงฟ้าแลบแปลบปลาบ วูบวาบ เสมือนได้แสงสะท้อนจาก “แว่นฟ้า” ส่องฉากฝ้าให้งดงาม


ขอบคุณ ข้อมูลจาก
 เพจ : เมืองเหนือบ้านเฮา

วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2563

ตุงกระด้าง


#ตุงกระด้าง




ศิลปะล้านนา ที่มีผู้นำมาถวายและได้นำมาจัดแสดงมี ๒ แบบ คือ 
แบบที่ ๑. ทำด้วยไม้และโลหะ ประกอบด้วยแผ่นตุงทำด้วยโลหะฉลุลายเป็นลวดลายดอกไม้ เครือเถา และลายกระหนก ยึดติดอยู่กับเสาตุง ส่วนยอดเสาทำเป็นรูปไก่อยู่ใต้ฉัตร (ส่วนภาพที่นำมาประกอบนี้ ใต้ยอดฉัตรจะเป็นองค์เทพพนมในลักษณะท่ายืน)


แบบที่ ๒. ทำด้วยแผ่นไม้ แกะสลักเป็นลายดอกไม้ และเถาวัลย์ ลงรัก ปิดทอง ส่วนยอดทำเป็นรูปหงส์อยู่เหนือฐาน

ตุง เป็นภาษาล้านนามาจากคำว่า ธง คนล้านนาเชื่อว่า การใช้ตุงจะเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมในพุทธศาสนาและประเพณีเกี่ยวกับชีวิต 

การสร้างตุงและการใช้ตุงนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะเป็นการบูชาพระธาตุ บูชาพระพุทธรูป การปักประดับในงานเฉลิมฉลองศาสนวัตถุต่างๆ การสืบทอดพระศาสนาให้ครบ ๕,๐๐๐ ปี การเข้าสู่พระนิพาน การอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย
มักตั้งอยู่ภายในวัด บริเวณฐานชุกชี หน้าวิหารหรืออุโบสถ และรายรอบเจดีย์ ตุงจึงเป็นเครื่องสักการะประเภทหนึ่งที่ทำด้วยวัสดุหลายชนิด เช่น ผ้า กระดาษ ไม้



ตุงที่ทำมาจากไม้เรียกว่า ตุงกระด้าง เป็นวัฒนธรรมที่ล้านนารับมาจากพม่า ชาวพม่านิยมสร้างตุงกระด้างสำหรับถวายแด่พระรัตนตรัยอย่างถาวร มักถวายเป็นคู่ไว้หน้าพระประธานหรือหน้าอุโบสถ วิหาร บางแห่งทำไว้กลางลานวัดหรือใกล้พระเจดีย์
ตุงกระด้างเป็นตุงที่ทำด้วยไม้หรือโลหะ มีการแกะสลักประดับด้วยโลหะฉลุลายหรือประดับปูนปั้นเป็นลวดลายต่างๆ เช่น ลายเครือเถาลายกระหนก ลายรูปสัตว์ โดยทั่วไปจะนิยมแกะสลักเป็นรูปสัตว์
ขอบคุณข้อมูล : วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เดือนสิบสองเป็ง (เปรตพลี) หรือ ประเพณีตานก๋วยสลาก (สลากภัต)

 

ประเพณีเดือนสิบสองเป็ง



"นิมิตตัง สาธุรูปานัง กตัญญูกตเวทิตา " 

ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี


เดือน ๑๒ เหนือ หรือเดือนสิบใต้ มีประเพณีทางศาสนาที่สำคัญ คือมีการตานก๋วยสลากหรือสลากภัต ในวันขึ้น ๘ - ๑๕ ค่ำ ไปจนถึงเดือน ๑๒ แรม ๑๕ ค่ำ เรียกว่าประเพณีสิบสองเป็ง ซึ่งเป็นประเพณีอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปหายังญาติผู้ได้ล่วงลับไป โดยเฉพาะวันพระ ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒  คนเหนือเชื่อว่าในวันนี้ในโลกของนรกภูมิ จะได้มีการปลดปล่อยเหล่าวิญญาณ ผีเปรตต่างๆ เพื่อให้โอกาสกลับมาขอส่วนบุญจากญาติพี่น้อง ก่อนจะกลับไปยังภพของตนหรือสูงที่สุดคือการได้พ้นจากนรกภูมิ ซึ่งเป็นประเพณีที่ชาวล้านนาปฏิบัติสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ดังนั้นจึงเป็นการปฏิบัติประเพณีที่มุ่งเน้นถึงความกตัญญู เพื่อต้องการให้บุคคลผู้เป็นที่รักได้พบกับความสุข จึงได้ทำสืบๆ กันมา

ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งนิยมทำบุญโดยการนิมนต์พระมาแสดงพระธรรมเทศนาแบบพื้นเมืองเหนือ เช่นเรื่อง มาลัยโผดโลก นิพพานสูตร มหามูลนิพพาน กรรมวิบาก อานิสงส์ทานหาผู้ตาย อภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ เป็นต้น    

        ดังนั้นจะเห็นว่าแม้ในสมัยพุทธกาล คือเมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น ก็มีปรากฏเหตุการณ์การทำบุญอุทิศส่วนกุศลถึงญาติพี่น้องโดยพระเจ้าพิมพิสาร และต่อมาก็ได้กระทำสืบต่อกันมา

ซึ่งคำว่า เปรต หมายถึงอมนุษย์ประเภทหนึ่ง อาศัยอยู่ในภูมิที่เรียกว่า เปรตวิสัย เปรตบางจำพวกอาศัยปะปนกับมนุษย์ เกิดจากจิตที่มีโลภะ คือเป็นคนโลภ ขี้ตระหนี่ ไม่ยอมทำทาน ตายแล้วไปเกิดเป็นเปรต

ดังจะได้ยกเรื่องราวเมื่อครั้งพระเจ้าพิมพิสารได้สร้างบุญใหญ่ นั่นคือการยกสวนเวฬุวัน (สวนไผ่) เพื่อให้เป็นที่ประทับขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในยามค่ำคืนเอง ได้เกิดมีเสียงร้องครวญให้พระเจ้าพิมพิสารได้ยินโดยเหล่าเปรตทั้งหลาย ซึ่งต่างหวังว่าเมื่อพระองค์ได้ยินแล้วจะทรงระลึกถึงพวกตนบ้าง ซึ่งเหตุการณ์ก็เป็นไปดังเช่นนั้นจริง คือ พระเจ้าพิมพิสารเกิดสงสัยว่าเสียงประหลาดนี้มาจากไหน จึงได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทูลถามในเรื่องนี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบว่า เป็นเสียงของเปรตซึ่งเป็นพระญาติของพระองค์ และตรัสเล่าถึงวิบากกรรมที่บรรดาพระญาติเกิดเป็นเปรต ซึ่งจะพ้นจากการเป็นเปรตได้ ก็ด้วยญาติของเปรตเหล่านั้นจะต้องทำบุญและอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ ฉะนั้นเมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ตั้งพระทัยที่จะถวายสวนไผ่ให้เป็นพระอารามไว้ในพระพุทธศาสนา แด่พระพุทธองค์พร้อมด้วยกับทั้งเหล่าพระสาวกนั้น  ด้วยอานิสงส์เหตุแห่งการถวายวัตถุทานเป็นอันมากนั้น ก่อให้เกิดซึ่งอานิสงส์ต่าง ๆ มากมาย เช่น อานิสงส์แห่งการถวายจีวรได้ส่งผลให้เปรตพระญาติมีเสื้อผ้าอาภรณ์สวมใส่ อานิสงส์แห่งการถวายน้ำช่วยให้ดับความกระหายที่ทุกข์ทนทรมานมายาวนานหลายกัปกัลป์ อานิสงส์แห่งการถวายภัตตาหารได้กำจัดความหิวโหยโดยสิ้น จากเปรตกลายเป็นเทวดา พากันไปเสวยผลบุญกุศลบนสรวงสวรรค์ ด้วยอำนาจบุญที่พระเจ้าพิมพิสารอุทิศให้นี้เอง



ภาพบรรยากาศในพิธี งานเดือนสิบสองเป็ง (เปรตพลี) 

หรืองานตานก๋วยสลาก (สลากภัต)

ของวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

โดยทางวัดและคณะศรัทธาสาธุชน จะร่วมกันจัดขึ้นในวันพระ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เหนือ (เดือน ๑๐ ใต้) เป็นประจำในทุก ๆ ปี 



 

สำหรับในปีนี้ ตรงกับ วันพุธ ที่ ๒ เดือน กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓  

วันพระ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (เหนือ) 

จึงนับเป็นประเพณีสำคัญที่ชาวล้านนาและพุทธศาสนิกชน ที่ได้ร่วมปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาอันช้านานและจะยังคงสืบต่อรับช่วงกันไปอีกเรื่อย ๆ  ที่สำคัญที่สุดคือการได้เป็นส่วนส่งเสริมให้คนทุกคนได้ยึดมั่นในความดี ให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ และมุ่งให้ทุกคนเป็นคนรู้จักตอบแทนบุญคุณ ผู้ซึ่งมีอุปการะคุณแก่ตน


photo by : วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร

ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง หรือเทศกาลสงกรานต์

  ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง การเริ่มต้นแห่งศักราชใหม่ (ผู้เขียน พนมกร นันติ) ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง หรือเทศกาลสงกรานต์ คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสัน...